การยกระดับคะแนน วิชาภาษาอังฤษ ของนักเรียนชั้น ม.3 โดยบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ โรงเรียนนาทรายวิทยาคม (ปีการศึกษา 2550 - 2553)
โครงการนี้มีจุดที่น่าสนใจอยู่ว่า เราเปลี่ยนเจตคติที่ดีต่อวิชาภาษาอังกฤษ และคะแนน ONET ของนักเรียนได้อย่างไร? จึงทำให้คะแนนวิชานี้สูงขึ้นติดต่อกันมาทุกปี
ผู้อ่านท่านใดสนใจ ติดตามบทความได้ ในเวลาอันใกล้นี้
วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553
การจัดอันดับความสำคัญของสมรรถนะที่จำเป็นต้องพัฒนา (ครูขั้นพื้นฐาน)
ลำดับที่
สมรรถนะที่จำเป็นต้องพัฒนา
เหตุผลประกอบ
1
ความสามารถในการเขียนเอกสารทางวิชาการ
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 2.16
2
ความสามารถในการวิจัย
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 2.72
3
ความสามารถในการสังเคราะห์
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 2.79
4
ความสามารถในการสร้างและพัฒนาหลักสูตร
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.08
5
ความสามารถในการใช้และพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อการจัดการเรียนรู้
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.10
6
ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญ
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.19
7
ความสามารถในการวัด และประเมินผลการเรียนรู้
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.22
8
ความสามารถในเนื้อหาสาระที่สอน
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.30
9
ความสามารถในการกำกับ ดูแลชั้นเรียน
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.42
10
ความสามารถในการจัดบรรยากาศการเรียนรู้
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.54
11
ความสามารถในการพัฒนาทักษะ ชีวิต สุขภาพกาย และสุขภาพจิต
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.56
12
ความสามารถในการปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตย
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.60
13
ความสามารถในการฝังความเป็นไทย
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.65
14
ความสามารถในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.67
15
ความสามารถในการจัดระบบดูแลและช่วยเหลือผู้เรียน
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.69
16
ความสามารถในการวิเคราะห์
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.80
17
ความสามารถในการจัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจำชั้นเรียน/ประจำวิชา
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.93
18
ความสามารถในการนำชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมสถานศึกษา
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 2.83
19
ความสามมารถในการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 2.90
20
ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการแสวงหาความรู้
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 2.97
21
ผลการปฏิบัติงานในการการมุ่งผลสัมฤทธิ์
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.09
22
ความสามรถในการวางแผนการปฏิบัติงาน
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.10
23
ความสามารถในการประมวลความรู้ และนำความรู้ไปใช้
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.11
24
ความสามารถในการใช้ภาษาไทย
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.19
25
ความสามารถในการติดตามความเคลื่อนไหวทางวิชาการ และวิชาชีพ
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.20
26
ความสามรถในการสร้างระบบการให้บริการ
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.21
27
ความสามารถในการวิเคราะห์ตนเอง
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.21
28
ความสามารถในการปฏิบัติงาน
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.23
29
ความสามารถในการวางแผนเพื่อการปฏิบัติงานเป็นทีม
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.30
30
ความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกัน
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.32
31
ความสามารถในการให้บริการ
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.33
32
ความรับผิดชอบในวิชาชีพสมรรถนะหลัก
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.37
33
การมีวินัย
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.73
34
การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.79
35
การประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.80
36
ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.84
หมายเหตุ แนวทางการจัดอันดับความสำคัญของสมรรถนะที่จำเป็นต้องพัฒนาให้ความสำคัญกับสมรรถนะหรือความสามารถที่ส่งผลต่อผู้เรียนหรือผู้รับบริการเป็นอันดับแรก ต่อหน่วยงาน ต่อตนเอง และชุมชนเป็นอันดับรองลงมา (แนวทางการจัดอันดับความสำคัญสมรรถนะที่จำเป็นต้องพัฒนา)
ลำดับที่
สมรรถนะที่จำเป็นต้องพัฒนา
เหตุผลประกอบ
1
ความสามารถในการเขียนเอกสารทางวิชาการ
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 2.16
2
ความสามารถในการวิจัย
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 2.72
3
ความสามารถในการสังเคราะห์
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 2.79
4
ความสามารถในการสร้างและพัฒนาหลักสูตร
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.08
5
ความสามารถในการใช้และพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อการจัดการเรียนรู้
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.10
6
ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญ
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.19
7
ความสามารถในการวัด และประเมินผลการเรียนรู้
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.22
8
ความสามารถในเนื้อหาสาระที่สอน
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.30
9
ความสามารถในการกำกับ ดูแลชั้นเรียน
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.42
10
ความสามารถในการจัดบรรยากาศการเรียนรู้
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.54
11
ความสามารถในการพัฒนาทักษะ ชีวิต สุขภาพกาย และสุขภาพจิต
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.56
12
ความสามารถในการปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตย
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.60
13
ความสามารถในการฝังความเป็นไทย
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.65
14
ความสามารถในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.67
15
ความสามารถในการจัดระบบดูแลและช่วยเหลือผู้เรียน
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.69
16
ความสามารถในการวิเคราะห์
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.80
17
ความสามารถในการจัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจำชั้นเรียน/ประจำวิชา
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.93
18
ความสามารถในการนำชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมสถานศึกษา
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 2.83
19
ความสามมารถในการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 2.90
20
ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการแสวงหาความรู้
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 2.97
21
ผลการปฏิบัติงานในการการมุ่งผลสัมฤทธิ์
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.09
22
ความสามรถในการวางแผนการปฏิบัติงาน
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.10
23
ความสามารถในการประมวลความรู้ และนำความรู้ไปใช้
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.11
24
ความสามารถในการใช้ภาษาไทย
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.19
25
ความสามารถในการติดตามความเคลื่อนไหวทางวิชาการ และวิชาชีพ
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.20
26
ความสามรถในการสร้างระบบการให้บริการ
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.21
27
ความสามารถในการวิเคราะห์ตนเอง
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.21
28
ความสามารถในการปฏิบัติงาน
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.23
29
ความสามารถในการวางแผนเพื่อการปฏิบัติงานเป็นทีม
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.30
30
ความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกัน
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.32
31
ความสามารถในการให้บริการ
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.33
32
ความรับผิดชอบในวิชาชีพสมรรถนะหลัก
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.37
33
การมีวินัย
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.73
34
การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.79
35
การประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.80
36
ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ
มีระดับคุณภาพสมรรถนะอยู่ในระดับ 3.84
หมายเหตุ แนวทางการจัดอันดับความสำคัญของสมรรถนะที่จำเป็นต้องพัฒนาให้ความสำคัญกับสมรรถนะหรือความสามารถที่ส่งผลต่อผู้เรียนหรือผู้รับบริการเป็นอันดับแรก ต่อหน่วยงาน ต่อตนเอง และชุมชนเป็นอันดับรองลงมา (แนวทางการจัดอันดับความสำคัญสมรรถนะที่จำเป็นต้องพัฒนา)
Bloom’s Taxonomy
Bloom’s Taxonomy
ในปี 1956, Benjamin Bloom นำกลุ่มนักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มหนึ่งพัฒนาการจัดกลุ่มพฤติกรรมทางสมองที่สำคัญต่อการเรียนรู้ ระหว่าง ปี 1990 มีนักจิตวิทยากลุ่มใหม่ นำโดย Lorin Anderson (ลูกศิษย์เก่าของ Bloom) ปรับปรุงกลุ่มพฤติกรรมขึ้นมาใหม่ และสะท้อนผลงานในศตวรรษที่ 21 เป็นรูปภาพนี้เป็นตัวแทนของคำกริยาใหม่ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับ Bloom’s Taxonomy ที่เราคุ้นเคยมานาน บันทึกนี้เปลี่ยนจากนามเป็นกริยาเพื่ออธิบายระดับที่แตกต่างกันของกลุ่มพฤติกรรรม
จำ:ผู้เรียนสามารถระลึกหรือจดจำข้อมูลได้หรือไม่
ให้คำจำกัดความ (Define),จำลอง (Duplicate),จัดทำรายการ(List),จดจำ(Memorize),ระลึก(Recall),พูดซ้ำ (Repeat),คัดลอก(Reproduce State)
เข้าใจ:ผู้เรียนสามารถอธิบายความคิดหรือความคิดรวบยอดได้หรือไม่
แยกหมวดหมู่(Classify),บรรยาย(Describe),อภิปราย(Discuss),ชี้แจงเหตุผล(Explain),จำแนก(Indentify),หาแหล่งที่ตั้ง(Locate),จำแนกออก(recognize),รายงาน(Report),คัดสรร(Select),แปลความ(Translate),การถอดความ(Paraphrase)
ประยุกต์ใช้: ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ไปจากเดิมได้หรือไม่
เลือก(Choose),แสดง(Demonsrate),ละคร(Dramatize),บริการอาชีพ(Employ),อธิบายพร้อมตัวอย่าง (Illustrate),ปฏิบัติการ(Operate),กำหนดการทำงาน(Schedule),ร่าง(Sketch),แก้ปัญหา(solve),ใช้(Use),เขียน(Write)
วิเคราะห์:ผู้เรียนสามารถจำแนกความแตกต่างระหว่างส่วนต่างได้หรือไม่
ประเมินค่า(Appraise),เปรียบเทียบ(Compare),แตกต่าง(Contrast),วิจารณ์(Criticize),จำแนก(Differentiate),แบ่งแยก(Discriminate),วินิจฉัย(Distinguish),ตรวจสอบ(Examine),ทดลอง (Experiment)
ประเมินค่า:ผู้เรียนสามารถพิสูจน์หรือตัดสินใจได้หรือไม่
ประเมินค่า(Appraise),อภิปราย(Argue),แก้ต่าง(Defend),พิจารณาตัดสิน(Judge),เลือก(Select),สนับสนุน(Support),ให้คุณค่า(Value),ประเมินค่า(Evaluation)
สร้างสรรค์: นักเรียนสามารถสร้างผลิตพันธ์ หรือความคิดเห็นมุมมองใหม่ๆ ได้หรือไม่
รวบรวม(Assemble),สร้าง(Construct),สร้างสรรค์(Creat),ออกแบบ(Design),พัฒนา(Develop),คิดสูตร-คิดระบบ(Formulate),เขียน(Write)
จาก : http://web.odu.edu/educ/llschult/blooms_taxonomy.html
ในปี 1956, Benjamin Bloom นำกลุ่มนักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มหนึ่งพัฒนาการจัดกลุ่มพฤติกรรมทางสมองที่สำคัญต่อการเรียนรู้ ระหว่าง ปี 1990 มีนักจิตวิทยากลุ่มใหม่ นำโดย Lorin Anderson (ลูกศิษย์เก่าของ Bloom) ปรับปรุงกลุ่มพฤติกรรมขึ้นมาใหม่ และสะท้อนผลงานในศตวรรษที่ 21 เป็นรูปภาพนี้เป็นตัวแทนของคำกริยาใหม่ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับ Bloom’s Taxonomy ที่เราคุ้นเคยมานาน บันทึกนี้เปลี่ยนจากนามเป็นกริยาเพื่ออธิบายระดับที่แตกต่างกันของกลุ่มพฤติกรรรม
จำ:ผู้เรียนสามารถระลึกหรือจดจำข้อมูลได้หรือไม่
ให้คำจำกัดความ (Define),จำลอง (Duplicate),จัดทำรายการ(List),จดจำ(Memorize),ระลึก(Recall),พูดซ้ำ (Repeat),คัดลอก(Reproduce State)
เข้าใจ:ผู้เรียนสามารถอธิบายความคิดหรือความคิดรวบยอดได้หรือไม่
แยกหมวดหมู่(Classify),บรรยาย(Describe),อภิปราย(Discuss),ชี้แจงเหตุผล(Explain),จำแนก(Indentify),หาแหล่งที่ตั้ง(Locate),จำแนกออก(recognize),รายงาน(Report),คัดสรร(Select),แปลความ(Translate),การถอดความ(Paraphrase)
ประยุกต์ใช้: ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ไปจากเดิมได้หรือไม่
เลือก(Choose),แสดง(Demonsrate),ละคร(Dramatize),บริการอาชีพ(Employ),อธิบายพร้อมตัวอย่าง (Illustrate),ปฏิบัติการ(Operate),กำหนดการทำงาน(Schedule),ร่าง(Sketch),แก้ปัญหา(solve),ใช้(Use),เขียน(Write)
วิเคราะห์:ผู้เรียนสามารถจำแนกความแตกต่างระหว่างส่วนต่างได้หรือไม่
ประเมินค่า(Appraise),เปรียบเทียบ(Compare),แตกต่าง(Contrast),วิจารณ์(Criticize),จำแนก(Differentiate),แบ่งแยก(Discriminate),วินิจฉัย(Distinguish),ตรวจสอบ(Examine),ทดลอง (Experiment)
ประเมินค่า:ผู้เรียนสามารถพิสูจน์หรือตัดสินใจได้หรือไม่
ประเมินค่า(Appraise),อภิปราย(Argue),แก้ต่าง(Defend),พิจารณาตัดสิน(Judge),เลือก(Select),สนับสนุน(Support),ให้คุณค่า(Value),ประเมินค่า(Evaluation)
สร้างสรรค์: นักเรียนสามารถสร้างผลิตพันธ์ หรือความคิดเห็นมุมมองใหม่ๆ ได้หรือไม่
รวบรวม(Assemble),สร้าง(Construct),สร้างสรรค์(Creat),ออกแบบ(Design),พัฒนา(Develop),คิดสูตร-คิดระบบ(Formulate),เขียน(Write)
จาก : http://web.odu.edu/educ/llschult/blooms_taxonomy.html
วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553
การพัฒนาโรงเรียนนาทรายวิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 (พฤษภาคม 2553 – กันยายน 2553) ที่ผ่านมา โรงเรียนมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ พอสรุปได้ดังนี้
ด้านวิชาการ ในปีการศึกษา 2553 นี้ โรงเรียนนาทรายวิทยาคม มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น จากปีการศึกษาที่แล้ว (480 คน) มาเป็น 519 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2553) ทำให้โรงเรียนขยับขนาดมาเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง ซึ่งสวนทางกับโรงเรียนรอบนอกอื่น ๆ (ยกเว้นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ) ในจังหวัดลำพูน นอกจากนั้น โรงเรียนยังเปิดสอนหลักสูตรวิชาชีพช่างยนต์ และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เป็นปีที่ 2 ในขณะที่สายสามัญ โรงเรียนก็เป็นโรงเรียนพร้อมใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ทำให้การทำงานด้านวิชาการของโรงเรียนมีเรื่องใหม่ ๆ ให้ได้ศึกษา เรียนรู้ ตลอดเวลา แม้จะมีปัญหาอุปสรรคในหลาย ๆ ด้าน แต่ก็ไม่ทำให้นักเรียน หย่อนคุณภาพลง จากผลการสมัครและสอบแข่งขันเข้าเรียนต่ออุดมศึกษา ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มีนักเรียนสามารถผ่านการคัดเลือกเข้าได้ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น และมีจำนวนนักเรียนที่สามารถสอบเข้าได้เพิ่มขึ้นทุกปี
ด้านการปกครองดูแลนักเรียน เมื่อจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น ทำให้งานด้านนี้ ต้องได้รับการวางแผนและปฏิบัติการที่เข้มข้นขึ้น โรงเรียนจึงต้องเพิ่มความเข้มงวด กวดขัน ทุ่มแรงกายแรงใจ เพิ่มขึ้น เพราะนักเรียนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปตามโลกตามสมัย ตามสื่อทุกรูปแบบ ทำให้ครูต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง แม้จะมีปัญหาพฤติกรรมหลากหลายรูปแบบของนักเรียน แต่ด้วยความมุ่งมั่นพัฒนาแก้ปัญหาของคุณครูทุกท่าน ทำให้ภาคเรียนนี้ผ่านพ้นไปในระดับที่น่าพอใจ
ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา ในภาคเรียนนี้มีครูขอย้ายและขอโอนออกจากโรงเรียนหลายท่าน จากการไปสอบแข่งขันที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต่าง ๆ เปิดสอบในช่วงเดือนเมษายน 2553 ที่ผ่านมา มีครูของเราที่สามารถสอบผ่านขึ้นบัญชี จำนวน 6 คน และถูกเรียกตัวไปรายงานตัวแล้ว 3 คน นั้นก็แสดงถึงความเก่ง และความสามารถ เป็นข้อพิสูจน์อย่างหนึ่งแต่การขอโอนย้ายนั้น ด้วยเหตุผลของแต่ละคน หากเป็นครูอัตราจ้าง ก็เพื่อความก้าวหน้าและมั่นคงในชีวิต ส่วนข้าราชการครู ก็มีเหตุผล ย้ายไปอยู่รวมกับครอบครัว หรือ เพื่อสะดวกในการดูแลบิดามารดา เนื่องจากต้องเข้ารับการรักษาตัวบ่อย ๆ ประกอบกับช่วงเวลาดังกล่าวนั้นยังไม่ได้รับสิทธิการจ่ายตรง โรงเรียนพบปัญหาอุปสรรค ที่ต้องพัฒนาคนใหม่ อย่างต่อเนื่อง เพราะก็มีครูใหม่มาผลัดเปลี่ยนกันเรื่อย ๆ แต่โรงเรียนก็ได้วางแผนพัฒนาครูอย่างเป็นระบบทั้งกระบวนการพี่สอนน้อง เพื่อนสอนเพื่อน เรียนรู้จากการปฏิบัติ
ด้านอาคารสถานที่ ถือว่า ได้พัฒนาไปมาก คือ มีการสร้างอาคารเรียน 4 ชั้น เพิ่มเติม อีก 1 หลัง และขณะนี้กำลังมีการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง การก่อสร้างบ้านพักครู 2 ชั้น 16 ห้องนอน ซึ่งเป็นงบประมาณ พ.ศ. 2552 เพิ่มเติม ถือว่าเป็นความหวังของครูที่มีความจำเป็นต้องมาพักในโรงเรียน และบางท่านต้องไปเช่าอยู่นอกโรงเรียน รวมทั้งระบบประปาขนาดใหญ่ ก็เช่นเดียวกัน
ด้านแผนและงบประมาณ มีการบริหารงานที่คล่องตัวขึ้น เนื่องจากมีการโอนงบประมาณมาที่โรงเรียน ทำให้การเบิกจ่ายสิ้นสุด ณ ที่โรงเรียน และเบิกจ่ายได้ทันเวลา
ด้านการมีส่วนร่วม โรงเรียนได้จัดกิจกรรมที่หลากหลายเพิ่มขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาส เข้าไปพัฒนา ชุมชนและท้องถิ่น ของตนเอง ซึ่งแต่เดิมก็ทำมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการบันทึกที่นักเรียนเรียกสั้น ๆ ว่า “การบ้าน ผอ.” เพื่อไปบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทั้งที่วัด วา อาราม ที่ศาลากลางหมู่บ้าน และกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ ในขณะที่ทางชุมชนก็เข้ามามีส่วนร่วมให้ความรู้กับนักเรียนโดยเฉพาะด้านช่างยนต์ ด้านสุขภาพอนามัย และด้านเกษตรกรรม การจัดกรรมต่าง ๆ ทั้งระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ที่มีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนมาเป็นประธานในกิจกรรมคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ การออกไปร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนในการปลูกหญ้าแฝก ร่วมบวชป่า ในอำเภอลี้ และที่สำคัญทีมคณะกรรมการสถานศึกษาที่ร่วมใจกันพัฒนาโรงเรียนอย่างเต็มกำลังความสามารถ
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) นับเป็นความโชคดีของโรงเรียนนาทรายวิทยาคม ที่ท่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ได้ให้ความสำคัญต่อการจัดการศึกษาทั้งระดับจังหวัดโดยมีโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ในการที่จะมอบสื่อด้านบริการเข้าถึงข้อมูลการเรียนรู้ (School Online) ให้แก่โรงเรียนต่าง ๆ ในจังหวัดลำพูน แต่ด้วยความพร้อมด้าน ICT ของโรงเรียนนาทรายวิทยาคมมีน้อย จึงต้องมีการปรับปรุงเครือข่ายความเร็วอินเตอร์เน็ต จากที่เคยรับจากจาน IP-Star ซึ่งพบปัญหาบ่อยครั้ง เมื่อฝนฟ้า ไม่อำนวย และไม่สามารถรองรับการบริการ School Online ได้ จึงต้องปรับความเร็วอินเตอร์เน็ตให้ได้อย่างน้อย 5 Mbs จึงได้มีการจัดสรรงบประมาณ พ.ศ. 2553 เพิ่มเติม จำนวน 300,000 บาท พร้อมกับจัดซื้อสื่อการเรียนการสอนวิชาช่างยนต์และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ อีกจำนวน 400,000 บาท
ด้านการเรียนรู้ขององค์การ โรงเรียนได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานการ School Based ในเรื่องต่าง ๆ เช่น ด้านแผนและงบประมาณ วิชาการ บุคคล และด้านอื่น ๆ ทำให้ครูและบุคลากร รวมทั้งโรงเรียนมีการพึงตนเองมากยิ่งขึ้น เกิดการเรียนรู้ในการทำงาน การแก้ปัญหา เป็นการสร้างความเข้มแข็งแก่สถานศึกษาแห่งนี้ ที่จะสามารถรองรับการเจริญเติบโตต่อไปในวันข้างหน้า ได้รับการยอมรับ และชื่นชมจากทุกฝ่ายเพิ่มขึ้นนั้นเอง
วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553
“ ครูมืออาชีพตามมาตรา 24 ”
“ ครูมืออาชีพตามมาตรา 24 ”
เนื้อหาเกี่ยวกับความสำคัญ ภาระหน้าที่ กลยุทธในการสอนของครู ตามแนวทาง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ถ้าจะมีผู้ตั้งคำถามว่า หัวใจของการปฏิรูปการศึกษา คือ อะไร คำตอบที่ถูกต้อง ก็น่าจะเป็นการปฏิรูปการเรียนรู้ หรือการปฏิรูปการเรียนการสอนนั่นเอง เพราะถ้าเราได้อ่านพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 อย่างละเอียด อย่างพินิจ พิเคราะห์ก็จะพบว่า สาระทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในทุกมาตรา นำไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็ คือ การมุ่งไปสู่การพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ
การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้จะสำเร็จได้ต้องมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์ การปรับกระบวนการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้เต็มศักยภาพและสอดคล้องตามจุดประสงค์ของการศึกษาแต่ละระดับ ปรับให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และปรับบทบาทของครูจากผู้ถ่ายทอดความรู้มาเป็นผู้อำนวยความสะดวก ช่วยเหลือ ชี้แนะ สนับสนุนเอาใจใส่ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างเป็นกระบวนการ ครูควรใช้เทคนิควิธีการสอนที่เหมาะสมกับวัย ส่งเสริมผู้เรียนให้สร้างองค์ความรู้จากประสบการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ที่สัมผัส ปฏิบัติด้วยตนเอง ใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย ใช้แหล่งความรู้นอกเหนือจากห้องเรียน โรงเรียน และหนังสือ
ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้มีอยู่ 4 ประการ คือ 1. หลักการเรียนรู้ 2. บทบาทครู 3. บทบาทเด็ก 4. การจัดสภาพการเรียนรู้ ดังนี้
1. มีความเชื่อว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพในการสร้างองค์ความรู้โดยอาศัยสภาพความเป็นจริง
2. จัดประสบการณ์เรียนรู้ที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัย และความสามารถของเด็ก
3. บูรณาการเนื้อหา กิจกรรมและทักษะการเรียนรู้โดยเชื่อมโยงพื้นฐานเด็ก
4. ให้โอกาสเด็กได้สัมผัสปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง
5. ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครูโดยทำงาน แลกเปลี่ยนความคิดและปรับตัวทางสังคมร่วมกัน
6. ให้เด็กมีโอกาสคิด เลือก ตัดสินใจในการทำกิจกรรม โดยมีผู้ใหญ่คอยให้กำลังใจ
7. สร้างบรรยากาศที่ให้เด็กมีคิดอิสระและสนับสนุนความคิดริเริ่ม
8. สร้างเสริมความรู้สึกภูมิใจในการทำกิจกรรมและความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
9. ติดตามสังเกตเด็ก สะท้อนข้อมูลจากการสังเกตและประเมินผล
10. ปรับเปลี่ยนบทบาทครูในฐานะผู้สอนเป็นผู้สังเกต ผู้เรียนรู้และผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
11. ส่งเสริมและให้ความสำคัญกับบทบาทพ่อแม่และสถาบันครอบครัวในการอบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาเด็ก
มาตรา 24 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กล่าวถึง การจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับ ความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
ความสำคัญ ภาระหน้าที่ กลยุทธในการสอนของครู
ในแต่ละชั้นแต่ละห้องผู้เรียนมีอายุไล่เลี่ยกัน ส่วนใหญ่มาจากท้องถิ่นเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน มองดูเหมือนเหมือน ๆ กัน แต่ในความเป็นเด็กเหมือนกันนั้น พวกเขาก็มีความแตกต่างกันอยู่ด้วยทั้งรูปร่างหน้าตา บุคลิกลักษณะนิสัย ความเฉลียวฉลาดในการเรียนรู้ช้าเร็วต่างกัน แต่ในความแตกต่างนี้ก็เป็นมุมของความงดงามในสังคมมนุษย์ที่จะเอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทดแทนกันและกัน เรียนรู้จากกันและกัน ความแตกต่างจึงมีคุณค่าในการพัฒนา
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีกิจกรรมที่หลากหลายวิธี ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตร สภาพแวดล้อม ความสนใจและศักยภาพของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดี เก่ง และมีความสุข
การจัดกิจกรรมที่เน้นกระบวนการกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ รู้จักตนเอง รู้จักการอยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้จักพึ่งพาอาศัยกัน รู้วิธีศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และศึกษาหาความรู้ร่วมกับผู้อื่น รู้จักประเมินตนเองและยอมรับผลการประเมินจากผู้อื่น การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน การสอนแบบบูรณาการ การสอนแบบให้เด็กมีส่วนร่วม ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้เด็กเรียนอย่างมีความสุข
การให้เด็กทำโครงงาน เรียนแบบมีส่วนร่วม พยายามชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของวิชานั้น ๆ กระตุ้นให้เด็กไปหาความรู้เพิ่มเติม กระบวนการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ การเรียนแบบนี้ใช้เวลา ฉะนั้นการเรียนในชั่วโมงอย่างเดียวไม่พอ แนะวิธีการศึกษาด้วยตนเองตามความเหมาะสม ครูต้องเหนื่อยกว่าปกติ แต่คุ้มค่าที่ได้ทำให้เด็กฉลาดขึ้น มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักสื่อความหมาย เด็กได้เรียนในสิ่งที่เขาสนใจ ความถนัด ถ้าเด็กชอบการ์ตูนก็ให้เด็กสื่อออกมาในรูปของการ์ตูนได้
(2) ฝึก ทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
ความสำคัญ ภาระหน้าที่ กลยุทธในการสอนของครู
การสอนให้นักเรียนมีกระบวนการให้นักเรียนรู้วิธีเรียน (Learn how to learn) ไม่ใช่จำเนื้อหาวิชา นักเรียนก็จะมีความรู้ติดตัวไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ ๆ ได้ นอกจากทักษะกระบวนการแล้ว ทักษะการจัดการซึ่งผู้เรียนควรมีลักษณะ 3 ประการ คือ 1. รู้จักนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง 2. รับรู้กระบวนการและนำไปใช้ได้ 3. เห็นช่องทางในการนำสิ่งที่เรียนไปประกอบอาชีพ - รายได้
ดังนั้นครูผู้สอนจึงมีภาระหน้าที่ และกลยุทธในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้นักเรียนได้ฝึก ทักษะต่าง ๆ ดังนี้ กระตุ้นให้เด็กฝึกการคิดโดยใช้คำถาม หรือปัญหานำ อาจใช้ของเล่น หรือกรณีเหตุการณ์ ข่าวประจำวัน ตามหน้าหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ดึงมาเป็นหัวข้อให้เด็กวิจารณ์ แสดงความคิดเห็น หรือไปดูสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นตามข่าว ค้นหาคำตอบ แล้วร่วมกันสรุป ทำให้เด็กได้เรียนในสิ่งที่เขาอยากเรียน ไม่ใช่ ต้องเรียน
ฝึกนักเรียนให้คิด และวิเคราะห์ด้วยตนเอง และทำงานแบบกลุ่ม พร้อมกระตุ้นเด็กให้เกิดการเรียนรู้ในแต่ละด้าน ไม่ควรแยกเด็กออกจากัน คำถามแต่ละคำถามครูต้องรู้ว่าเด็กอยู่ในระดับไหน และปล่อยให้เด็กได้หาคำตอบด้วยตนเอง
โรงเรียนจัดให้มีกิจกรรมค่ายต่าง ๆ เช่น วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย เพื่อให้เด็กเกิดกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์โดยถ่ายทอดความคิดอย่างสร้างสรรค์ โดยถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม บางครั้งเด็กก็จะเป็นครูของเราโดยไม่รู้ตัว ในแง่ของความคิด ซึ่งเด็กจะมีการเสนอวิธีคิดออกมาแบบง่าย ๆ น่าสนใจ
การวิเคราะห์ คือ การแยกส่วน การฝึกวิเคราะห์ควรเริ่มด้วยการให้ผู้เรียน “มองต่างมุม” และ “มองหลายมุม” แนวทางหนึ่งของการฝึกวิเคราะห์ คือ การใช้คำถาม ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เท่าไร ทำไม
(3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ ให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
ความสำคัญ ภาระหน้าที่ กลยุทธในการสอนของครู
บรูเนอร์ (Jerome Bruner) เสนอว่า การสอนนั้นจะต้องเป็นการให้ผู้เรียนได้เริ่มจากประสบการณ์ตรงไปสู่ประสบการณ์ผ่านภาพ (Iconic) ซึ่งเป็นตัวแทนของประสบการณ์จริง แล้วเรื่อยไปสู่ลักษณะที่เป็นสัญลักษณ์ (Symbol) อัลคอร์น (Alcorn) และคณะได้สรุปจากประสบการณ์ว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มักจะจดจำสิ่งที่เรียนจากน้อยไปหามากดังนี้ จากสิ่งที่ 1.อ่าน 2. ฟัง 3. เห็น 4. ฟังและเห็น 5. พูด-อภิปราย 6. การกระทำ และจากกรวยประสบการณ์ของเอการ์ เดล สิ่งที่ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วและมีคุณค่า จำอย่างถาวรมากที่สุด คือ การเรียนรู้จากของจริง ประสบการณ์การตรง
ภาระหน้าที่ของครูผู้สอนจึงต้องจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ให้ได้ปฏิบัติจริงให้มากที่สุด เพื่อค้นหาคำตอบและสรุปด้วยตนเอง ฝึกให้ผู้เรียนเป็นทั้งผู้นำและผู้ตามที่ดี และเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากธรรมชาติสิ่งแวดล้อมของชีวิตจริง
การสอนโดยให้เด็กออกไปฝึกงาน ฝึกประสบการณ์หรือวิธีปฏิบัติมากกว่าที่จะนั่งเรียนในห้องอย่างเดียว
ให้ผู้เรียนทำโครงงานนำเสนอแนวคิด และขั้นตอนการดำเนินงานพร้อมทั้งให้ได้ปฏิบัติจริง เพื่อสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
การสอนแบบทดลอง มุ่งให้ผู้เรียนเรียนโดยลงมือกระทำ หรือโดยการสังเกต ค้นหา ข้อสรุปหรือความจริงด้วยตนเอง
จัดกิจกรรมมุ่งเน้นให้ผู้เรียนใฝ่รู้ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น รู้จักแยกแยะ เชื่อมโยง เป็นระบบ กล้าแสดงออกใช้หลักเหตุและผลในการรับฟังความคิดเห็นและประเมินผลร่วมกัน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุง เคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน โดยครูจะต้องคอยส่งเสริม จัดสภาพแวดล้อมและอำนวยการให้เกิดสิ่งเหล่านี้บนความเชื่อพื้นฐานว่า ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถในทางที่ถูกอีกทั้งครูต้องยอมรับการกระทำนั้น ๆ ยกย่องและให้กำลังใจเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนใฝ่รู้ มีนิสัยชอบปฏิบัติและสร้างสรรค์ผลงานอย่างมีความสุข
ให้มีการสร้างทัศนคติค่านิยมใหม่ ๆ ให้แก่ผู้เรียน ดังนี้ 1. พัฒนาให้มีท่าทีหิวกระหายการเรียนรู้ 2. พัฒนาให้มีท่าทีกระตือรือร้นในการเรียนรู้ 3. พัฒนาให้มีท่าทีอุทิศตัวเอาจริงเอาจังในการเรียนรู้ 4. พัฒนาท่าทีที่เชื่อฟังและยอมรับการสอนเสมอ 5. พัฒนาท่าทีให้มีท่าทีถ่อมใจ ยินดีเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
(4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
ความสำคัญ ภาระหน้าที่ กลยุทธในการสอนของครู
โลกในทศวรรษหน้าจะต้องการคนที่มีความสามารถในการผสมผสานศาสตร์หลาย ๆ อ่างเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปใช้ให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด เช่น นักการเมือง ผู้ที่เป็นได้ทั้งผู้นำที่สามารถ นักการเงินตัวยง และนักอนุรักษ์ธรรมชาติ นักวิทยาศาสตร์ที่สามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง โดยไม่เป็นภาระกับสิ่งแวดล้อม แต่จากสภาพปัจจุบันโลกของเรากลับมีทิศทางไปในทางตรงกันข้าม ทุกอย่างถูกแยกจากกันเป็นชิ้น ๆ ในโรงเรียนเด็กทุกคนชินชากับการไปโรงเรียนเพื่อนั่งสังเกตว่า ต้องทำเลขอย่างไร ในตอนเช้า พอตกบ่ายก็ต้องมานั่งจดจำเรื่องราวเกี่ยวกับสังคมวิทยา ซึ่งดูเหมือนจะไม่มีความหมายอะไรกับเขาเลย พอเรียนจบไปแล้ว ก็ต้องเรียนรู้ใหม่อีกครั้งจากโลกภายนอก ดังนั้น การเรียนในโรงเรียนก็เป็นสิ่งที่สูญเปล่า หลักสูตรแบบบูรณาการจึงจำเป็นสำหรับทศวรรษหน้าและอนาคต เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีนักคิด นักการศึกษาหลายคนได้เริ่มนำ ศิลปะแห่งการผสมผสานหลักสูตร มาใช้เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ทักษะแห่งการผสมผสานอันเป็นคุณลักษณ์ที่จำเป็นอย่างมากในทศวรรษที่ 21
ถ้าเราต้องการจะให้คนรุ่นใหม่เป็นคนใฝ่รู้ ใฝ่เรียน (Lifelong Learner) และเป็นผู้สร้างสรรค์ที่ดีไปพร้อม ๆ กัน เราต้องช่วยให้ผู้เรียน เกิดความเชื่อมโยงระหว่างการเรียนกับชีวิต จะต้องทำให้เขาทราบว่า เขาเป็นส่วนหนึ่งของโลก เขาสามารถใช้ทักษะวิทยาการต่าง ๆ ที่เรียนมาใช้ในการแก้ปัญหาได้จริง
Story Line Method คือ การเอาทฤษฎีการเรียนรู้หลายทฤษฎีมาใช้ร่วมกัน เช่น การบูรณาการ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้จากสิ่งที่ใกล้ตัวผู้เรียน เชื่อมโยงออกไปสู่วิถีชีวิตจริง การค้นคว้าหาความรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเป็นต้น Story Line Method มีความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ว่า ความรู้ควรมีลักษณะเป็นองค์รวม ผลการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับวิธีการได้มาซึ่งความรู้นั้นและประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญและผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีต้องผ่านการกระทำของตนเองด้วยประสบการณ์ตรง หลักการของ Story Line คือ การสร้างเรื่องหรือสถานการณ์สมมติที่จะศึกษาให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่จะเรียนรู้ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
(5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
ความสำคัญ ภาระหน้าที่ กลยุทธในการสอนของครู
การจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนการสอน และสิ่งต่าง ๆ ที่เอื้ออำนวย เพิ่มความสะดวกแก่ผู้เรียน และผู้สอน นับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากอย่างหนึ่ง ต่อการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้
โรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา รวมทั้งครูผู้สอนจึงมีภาระหน้าที่ที่จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของครูกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน ครูกับครู ให้โอกาสอิสระในการลองผิดลองถูก มีความหลากหลาย มีอิสระในการเลือก บรรยากาศเป็นมิตรไมตรีต่อกัน เรียนรู้ร่วมกัน หากมีการแข่งขันก็มุ่งเน้นการพัฒนา เวลาที่เหมาะสม เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ มีความสนุกสนาน ครูผู้เรียนมีการตื่นตัวตลอดเวลา มีความสนุกในการเรียนรู้ สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการจัดหา ผลิตสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมเพียงพอ
ครูทุกคนสามารถทำวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน (Classroom Research) เพื่อสร้างนวัตกรรมการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ตลอดเวลา เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง เรียนอย่างคิดเป็นทำเป็น พัฒนาเต็มศักยภาพและมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การทำให้เด็กไทยฉลาด เป็นคนเก่ง คนดี คือ บทบาทและภาระกิจของคุณครูทุกคน และสถานศึกษาทุกแห่ง
(6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
การจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริงของผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่ใกล้ตัวจนถึงสังคมโลก เช่น สภาพปัญหาในชุมชน การประกอบอาชีพในชุมชนฯ
กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดจะเอาเด็กเป็นตัวตั้ง ตัวอย่าง การนำภูมิปัญญาในชุมชนใกล้เคียงมาใช้ในโรงเรียน ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่เด็กและครู เปิดโอกาสให้เด็กได้ออกมาแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยเน้นบทบาทของการแสดงออกเป็นสำคัญ จัดให้มีค่ายวิทยาศาสตร์ ร่วมกับโรงเรียนอื่น ๆ ในเขต หรือในสหวิทยาเขต หรือกลุ่มโรงเรียน สำหรับนักเรียนที่มีความสนใจ
การเรียนการสอนไม่ได้อยู่แต่ในโรงเรียน เด็กสามารถไปศึกษาที่บ้านหรือท้องถิ่นได้ การเรียนรู้ไม่มีขีดจำกัด ครูสามารถสร้างเจตคติให้เด็กสนใจได้
ยงยุทธ ยะบุญธง
เรียงความที่ได้รับรางวัลจากการประกวด ของ สกศ. พ.ศ. 2543
เนื้อหาเกี่ยวกับความสำคัญ ภาระหน้าที่ กลยุทธในการสอนของครู ตามแนวทาง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ถ้าจะมีผู้ตั้งคำถามว่า หัวใจของการปฏิรูปการศึกษา คือ อะไร คำตอบที่ถูกต้อง ก็น่าจะเป็นการปฏิรูปการเรียนรู้ หรือการปฏิรูปการเรียนการสอนนั่นเอง เพราะถ้าเราได้อ่านพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 อย่างละเอียด อย่างพินิจ พิเคราะห์ก็จะพบว่า สาระทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในทุกมาตรา นำไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็ คือ การมุ่งไปสู่การพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ
การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้จะสำเร็จได้ต้องมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์ การปรับกระบวนการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้เต็มศักยภาพและสอดคล้องตามจุดประสงค์ของการศึกษาแต่ละระดับ ปรับให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และปรับบทบาทของครูจากผู้ถ่ายทอดความรู้มาเป็นผู้อำนวยความสะดวก ช่วยเหลือ ชี้แนะ สนับสนุนเอาใจใส่ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างเป็นกระบวนการ ครูควรใช้เทคนิควิธีการสอนที่เหมาะสมกับวัย ส่งเสริมผู้เรียนให้สร้างองค์ความรู้จากประสบการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ที่สัมผัส ปฏิบัติด้วยตนเอง ใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย ใช้แหล่งความรู้นอกเหนือจากห้องเรียน โรงเรียน และหนังสือ
ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้มีอยู่ 4 ประการ คือ 1. หลักการเรียนรู้ 2. บทบาทครู 3. บทบาทเด็ก 4. การจัดสภาพการเรียนรู้ ดังนี้
1. มีความเชื่อว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพในการสร้างองค์ความรู้โดยอาศัยสภาพความเป็นจริง
2. จัดประสบการณ์เรียนรู้ที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัย และความสามารถของเด็ก
3. บูรณาการเนื้อหา กิจกรรมและทักษะการเรียนรู้โดยเชื่อมโยงพื้นฐานเด็ก
4. ให้โอกาสเด็กได้สัมผัสปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง
5. ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครูโดยทำงาน แลกเปลี่ยนความคิดและปรับตัวทางสังคมร่วมกัน
6. ให้เด็กมีโอกาสคิด เลือก ตัดสินใจในการทำกิจกรรม โดยมีผู้ใหญ่คอยให้กำลังใจ
7. สร้างบรรยากาศที่ให้เด็กมีคิดอิสระและสนับสนุนความคิดริเริ่ม
8. สร้างเสริมความรู้สึกภูมิใจในการทำกิจกรรมและความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
9. ติดตามสังเกตเด็ก สะท้อนข้อมูลจากการสังเกตและประเมินผล
10. ปรับเปลี่ยนบทบาทครูในฐานะผู้สอนเป็นผู้สังเกต ผู้เรียนรู้และผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
11. ส่งเสริมและให้ความสำคัญกับบทบาทพ่อแม่และสถาบันครอบครัวในการอบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาเด็ก
มาตรา 24 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กล่าวถึง การจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับ ความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
ความสำคัญ ภาระหน้าที่ กลยุทธในการสอนของครู
ในแต่ละชั้นแต่ละห้องผู้เรียนมีอายุไล่เลี่ยกัน ส่วนใหญ่มาจากท้องถิ่นเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน มองดูเหมือนเหมือน ๆ กัน แต่ในความเป็นเด็กเหมือนกันนั้น พวกเขาก็มีความแตกต่างกันอยู่ด้วยทั้งรูปร่างหน้าตา บุคลิกลักษณะนิสัย ความเฉลียวฉลาดในการเรียนรู้ช้าเร็วต่างกัน แต่ในความแตกต่างนี้ก็เป็นมุมของความงดงามในสังคมมนุษย์ที่จะเอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทดแทนกันและกัน เรียนรู้จากกันและกัน ความแตกต่างจึงมีคุณค่าในการพัฒนา
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีกิจกรรมที่หลากหลายวิธี ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตร สภาพแวดล้อม ความสนใจและศักยภาพของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดี เก่ง และมีความสุข
การจัดกิจกรรมที่เน้นกระบวนการกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ รู้จักตนเอง รู้จักการอยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้จักพึ่งพาอาศัยกัน รู้วิธีศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และศึกษาหาความรู้ร่วมกับผู้อื่น รู้จักประเมินตนเองและยอมรับผลการประเมินจากผู้อื่น การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน การสอนแบบบูรณาการ การสอนแบบให้เด็กมีส่วนร่วม ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้เด็กเรียนอย่างมีความสุข
การให้เด็กทำโครงงาน เรียนแบบมีส่วนร่วม พยายามชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของวิชานั้น ๆ กระตุ้นให้เด็กไปหาความรู้เพิ่มเติม กระบวนการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ การเรียนแบบนี้ใช้เวลา ฉะนั้นการเรียนในชั่วโมงอย่างเดียวไม่พอ แนะวิธีการศึกษาด้วยตนเองตามความเหมาะสม ครูต้องเหนื่อยกว่าปกติ แต่คุ้มค่าที่ได้ทำให้เด็กฉลาดขึ้น มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักสื่อความหมาย เด็กได้เรียนในสิ่งที่เขาสนใจ ความถนัด ถ้าเด็กชอบการ์ตูนก็ให้เด็กสื่อออกมาในรูปของการ์ตูนได้
(2) ฝึก ทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
ความสำคัญ ภาระหน้าที่ กลยุทธในการสอนของครู
การสอนให้นักเรียนมีกระบวนการให้นักเรียนรู้วิธีเรียน (Learn how to learn) ไม่ใช่จำเนื้อหาวิชา นักเรียนก็จะมีความรู้ติดตัวไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ ๆ ได้ นอกจากทักษะกระบวนการแล้ว ทักษะการจัดการซึ่งผู้เรียนควรมีลักษณะ 3 ประการ คือ 1. รู้จักนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง 2. รับรู้กระบวนการและนำไปใช้ได้ 3. เห็นช่องทางในการนำสิ่งที่เรียนไปประกอบอาชีพ - รายได้
ดังนั้นครูผู้สอนจึงมีภาระหน้าที่ และกลยุทธในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้นักเรียนได้ฝึก ทักษะต่าง ๆ ดังนี้ กระตุ้นให้เด็กฝึกการคิดโดยใช้คำถาม หรือปัญหานำ อาจใช้ของเล่น หรือกรณีเหตุการณ์ ข่าวประจำวัน ตามหน้าหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ดึงมาเป็นหัวข้อให้เด็กวิจารณ์ แสดงความคิดเห็น หรือไปดูสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นตามข่าว ค้นหาคำตอบ แล้วร่วมกันสรุป ทำให้เด็กได้เรียนในสิ่งที่เขาอยากเรียน ไม่ใช่ ต้องเรียน
ฝึกนักเรียนให้คิด และวิเคราะห์ด้วยตนเอง และทำงานแบบกลุ่ม พร้อมกระตุ้นเด็กให้เกิดการเรียนรู้ในแต่ละด้าน ไม่ควรแยกเด็กออกจากัน คำถามแต่ละคำถามครูต้องรู้ว่าเด็กอยู่ในระดับไหน และปล่อยให้เด็กได้หาคำตอบด้วยตนเอง
โรงเรียนจัดให้มีกิจกรรมค่ายต่าง ๆ เช่น วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย เพื่อให้เด็กเกิดกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์โดยถ่ายทอดความคิดอย่างสร้างสรรค์ โดยถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม บางครั้งเด็กก็จะเป็นครูของเราโดยไม่รู้ตัว ในแง่ของความคิด ซึ่งเด็กจะมีการเสนอวิธีคิดออกมาแบบง่าย ๆ น่าสนใจ
การวิเคราะห์ คือ การแยกส่วน การฝึกวิเคราะห์ควรเริ่มด้วยการให้ผู้เรียน “มองต่างมุม” และ “มองหลายมุม” แนวทางหนึ่งของการฝึกวิเคราะห์ คือ การใช้คำถาม ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เท่าไร ทำไม
(3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ ให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
ความสำคัญ ภาระหน้าที่ กลยุทธในการสอนของครู
บรูเนอร์ (Jerome Bruner) เสนอว่า การสอนนั้นจะต้องเป็นการให้ผู้เรียนได้เริ่มจากประสบการณ์ตรงไปสู่ประสบการณ์ผ่านภาพ (Iconic) ซึ่งเป็นตัวแทนของประสบการณ์จริง แล้วเรื่อยไปสู่ลักษณะที่เป็นสัญลักษณ์ (Symbol) อัลคอร์น (Alcorn) และคณะได้สรุปจากประสบการณ์ว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มักจะจดจำสิ่งที่เรียนจากน้อยไปหามากดังนี้ จากสิ่งที่ 1.อ่าน 2. ฟัง 3. เห็น 4. ฟังและเห็น 5. พูด-อภิปราย 6. การกระทำ และจากกรวยประสบการณ์ของเอการ์ เดล สิ่งที่ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วและมีคุณค่า จำอย่างถาวรมากที่สุด คือ การเรียนรู้จากของจริง ประสบการณ์การตรง
ภาระหน้าที่ของครูผู้สอนจึงต้องจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ให้ได้ปฏิบัติจริงให้มากที่สุด เพื่อค้นหาคำตอบและสรุปด้วยตนเอง ฝึกให้ผู้เรียนเป็นทั้งผู้นำและผู้ตามที่ดี และเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากธรรมชาติสิ่งแวดล้อมของชีวิตจริง
การสอนโดยให้เด็กออกไปฝึกงาน ฝึกประสบการณ์หรือวิธีปฏิบัติมากกว่าที่จะนั่งเรียนในห้องอย่างเดียว
ให้ผู้เรียนทำโครงงานนำเสนอแนวคิด และขั้นตอนการดำเนินงานพร้อมทั้งให้ได้ปฏิบัติจริง เพื่อสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
การสอนแบบทดลอง มุ่งให้ผู้เรียนเรียนโดยลงมือกระทำ หรือโดยการสังเกต ค้นหา ข้อสรุปหรือความจริงด้วยตนเอง
จัดกิจกรรมมุ่งเน้นให้ผู้เรียนใฝ่รู้ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น รู้จักแยกแยะ เชื่อมโยง เป็นระบบ กล้าแสดงออกใช้หลักเหตุและผลในการรับฟังความคิดเห็นและประเมินผลร่วมกัน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุง เคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน โดยครูจะต้องคอยส่งเสริม จัดสภาพแวดล้อมและอำนวยการให้เกิดสิ่งเหล่านี้บนความเชื่อพื้นฐานว่า ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถในทางที่ถูกอีกทั้งครูต้องยอมรับการกระทำนั้น ๆ ยกย่องและให้กำลังใจเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนใฝ่รู้ มีนิสัยชอบปฏิบัติและสร้างสรรค์ผลงานอย่างมีความสุข
ให้มีการสร้างทัศนคติค่านิยมใหม่ ๆ ให้แก่ผู้เรียน ดังนี้ 1. พัฒนาให้มีท่าทีหิวกระหายการเรียนรู้ 2. พัฒนาให้มีท่าทีกระตือรือร้นในการเรียนรู้ 3. พัฒนาให้มีท่าทีอุทิศตัวเอาจริงเอาจังในการเรียนรู้ 4. พัฒนาท่าทีที่เชื่อฟังและยอมรับการสอนเสมอ 5. พัฒนาท่าทีให้มีท่าทีถ่อมใจ ยินดีเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
(4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
ความสำคัญ ภาระหน้าที่ กลยุทธในการสอนของครู
โลกในทศวรรษหน้าจะต้องการคนที่มีความสามารถในการผสมผสานศาสตร์หลาย ๆ อ่างเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปใช้ให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด เช่น นักการเมือง ผู้ที่เป็นได้ทั้งผู้นำที่สามารถ นักการเงินตัวยง และนักอนุรักษ์ธรรมชาติ นักวิทยาศาสตร์ที่สามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง โดยไม่เป็นภาระกับสิ่งแวดล้อม แต่จากสภาพปัจจุบันโลกของเรากลับมีทิศทางไปในทางตรงกันข้าม ทุกอย่างถูกแยกจากกันเป็นชิ้น ๆ ในโรงเรียนเด็กทุกคนชินชากับการไปโรงเรียนเพื่อนั่งสังเกตว่า ต้องทำเลขอย่างไร ในตอนเช้า พอตกบ่ายก็ต้องมานั่งจดจำเรื่องราวเกี่ยวกับสังคมวิทยา ซึ่งดูเหมือนจะไม่มีความหมายอะไรกับเขาเลย พอเรียนจบไปแล้ว ก็ต้องเรียนรู้ใหม่อีกครั้งจากโลกภายนอก ดังนั้น การเรียนในโรงเรียนก็เป็นสิ่งที่สูญเปล่า หลักสูตรแบบบูรณาการจึงจำเป็นสำหรับทศวรรษหน้าและอนาคต เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีนักคิด นักการศึกษาหลายคนได้เริ่มนำ ศิลปะแห่งการผสมผสานหลักสูตร มาใช้เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ทักษะแห่งการผสมผสานอันเป็นคุณลักษณ์ที่จำเป็นอย่างมากในทศวรรษที่ 21
ถ้าเราต้องการจะให้คนรุ่นใหม่เป็นคนใฝ่รู้ ใฝ่เรียน (Lifelong Learner) และเป็นผู้สร้างสรรค์ที่ดีไปพร้อม ๆ กัน เราต้องช่วยให้ผู้เรียน เกิดความเชื่อมโยงระหว่างการเรียนกับชีวิต จะต้องทำให้เขาทราบว่า เขาเป็นส่วนหนึ่งของโลก เขาสามารถใช้ทักษะวิทยาการต่าง ๆ ที่เรียนมาใช้ในการแก้ปัญหาได้จริง
Story Line Method คือ การเอาทฤษฎีการเรียนรู้หลายทฤษฎีมาใช้ร่วมกัน เช่น การบูรณาการ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้จากสิ่งที่ใกล้ตัวผู้เรียน เชื่อมโยงออกไปสู่วิถีชีวิตจริง การค้นคว้าหาความรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเป็นต้น Story Line Method มีความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ว่า ความรู้ควรมีลักษณะเป็นองค์รวม ผลการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับวิธีการได้มาซึ่งความรู้นั้นและประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญและผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีต้องผ่านการกระทำของตนเองด้วยประสบการณ์ตรง หลักการของ Story Line คือ การสร้างเรื่องหรือสถานการณ์สมมติที่จะศึกษาให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่จะเรียนรู้ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
(5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
ความสำคัญ ภาระหน้าที่ กลยุทธในการสอนของครู
การจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนการสอน และสิ่งต่าง ๆ ที่เอื้ออำนวย เพิ่มความสะดวกแก่ผู้เรียน และผู้สอน นับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากอย่างหนึ่ง ต่อการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้
โรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา รวมทั้งครูผู้สอนจึงมีภาระหน้าที่ที่จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของครูกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน ครูกับครู ให้โอกาสอิสระในการลองผิดลองถูก มีความหลากหลาย มีอิสระในการเลือก บรรยากาศเป็นมิตรไมตรีต่อกัน เรียนรู้ร่วมกัน หากมีการแข่งขันก็มุ่งเน้นการพัฒนา เวลาที่เหมาะสม เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ มีความสนุกสนาน ครูผู้เรียนมีการตื่นตัวตลอดเวลา มีความสนุกในการเรียนรู้ สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการจัดหา ผลิตสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมเพียงพอ
ครูทุกคนสามารถทำวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน (Classroom Research) เพื่อสร้างนวัตกรรมการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ตลอดเวลา เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง เรียนอย่างคิดเป็นทำเป็น พัฒนาเต็มศักยภาพและมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การทำให้เด็กไทยฉลาด เป็นคนเก่ง คนดี คือ บทบาทและภาระกิจของคุณครูทุกคน และสถานศึกษาทุกแห่ง
(6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
การจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริงของผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่ใกล้ตัวจนถึงสังคมโลก เช่น สภาพปัญหาในชุมชน การประกอบอาชีพในชุมชนฯ
กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดจะเอาเด็กเป็นตัวตั้ง ตัวอย่าง การนำภูมิปัญญาในชุมชนใกล้เคียงมาใช้ในโรงเรียน ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่เด็กและครู เปิดโอกาสให้เด็กได้ออกมาแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยเน้นบทบาทของการแสดงออกเป็นสำคัญ จัดให้มีค่ายวิทยาศาสตร์ ร่วมกับโรงเรียนอื่น ๆ ในเขต หรือในสหวิทยาเขต หรือกลุ่มโรงเรียน สำหรับนักเรียนที่มีความสนใจ
การเรียนการสอนไม่ได้อยู่แต่ในโรงเรียน เด็กสามารถไปศึกษาที่บ้านหรือท้องถิ่นได้ การเรียนรู้ไม่มีขีดจำกัด ครูสามารถสร้างเจตคติให้เด็กสนใจได้
ยงยุทธ ยะบุญธง
เรียงความที่ได้รับรางวัลจากการประกวด ของ สกศ. พ.ศ. 2543
วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553
ONET-NASAI
การนำผลคะแนน O-NET ไปใช้พัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนภายในโรงเรียน นาทรายวิทยาคม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
บทความ เรื่อง การนำผลคะแนน O-NET ไปใช้พัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนภายในโรงเรียนนาทรายวิทยาคม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการที่โรงเรียนได้ให้ความสำคัญต่อการสอบ O-NET และการนำผลไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดผลดีขึ้นตามลำดับ โดยจะขอนำเสนอ ตามหัวข้อ ดังนี้ 1) สภาพบริบทของโรงเรียนนาทรายวิทยาคม 2) การให้ความสำคัญของการสอบ O-NET 3) การนำผลคะแนน O-NET ไปใช้พัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนภายในโรงเรียน 4) คะแนน O-NET ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา 5) ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาในปีต่อไป 6) บทสรุป โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพบริบทของโรงเรียนนาทรายวิทยาคม
พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียม ศรีหริภูญชัย เป็นคำขวัญของจังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นจังหวัดเล็ก ๆ ในทางภาคเหนือของประเทศไทย ข้อมูลจากสำนักงานจังหวัดลำพูนมีประชากร 409,056 คน (สำนักงานจังหวัดลำพูน, http://www.lamphun.go.th/index2.php) ประกอบด้วย 8 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอป่าซาง อำเภอบ้านธิ อำเภอแม่ทา อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอทุ่งหัวช้าง และอำเภอลี้ และจากข้อมูลการศึกษา จังหวัดลำพูนมีการจัดระบบการศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน มีสถานศึกษาในระบบ ตั้งแต่อนุบาลถึงระดับอุดมศึกษา มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 2 เขตพื้นที่ การศึกษาในระบบโรงเรียน มีสถานศึกษาทั้งหมด 355 แห่ง ระดับประถมศึกษา 275 แห่ง สถานศึกษาเอกชน 26 แห่ง ระดับมัธยมศึกษา 17 แห่ง อาชีวศึกษา 4 แห่ง ร.ร.พระปริยัติธรรมแผนกสามัญ 10 แห่ง กองการศึกษาส่วนท้องถิ่น (เทศบาล) 7 แห่ง และมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย 1 โรงเรียนนาทรายวิทยาคม ตั้งอยู่ในอำเภอลี้ ถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2550 เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึง 6 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาช่างยนต์และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เป็นโรงเรียนมัธยมแห่งแรกและแห่งเดียวที่ถ่ายโอนฯ ในปีการศึกษา 2553 นี้ มีการจัดการเรียนการสอน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในระดับชั้น ม.3 และ ม.6 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2546) ในปีการศึกษา 2553นี้ มีจำนวนนักเรียน 20 ห้องเรียน 519 คน มีข้าราชการสายบริหาร จำนวน 1 คน สายผู้สอน 16 คน ครูอัตราจ้างตามภารกิจ จำนวน 14 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ – การเงินบัญชี จำนวน 2 คน นักการภารโรงจำนวน 2 คน และ พนักงานขับรถจำนวน 1 คน
2. การให้ความสำคัญของการสอบ O-NET
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดให้มีการวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียนไว้ 3 ระดับ คือ ระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ละระดับชาติ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพของผู้เรียน
1. การวัดผลและประเมินผลระดับชั้นเรียน เป็นหน้าที่ของครูผู้สอนที่จะต้องหาคำตอบว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าทั้งด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ คุณธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ เนื่องมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมากน้อยเพียงใด
2. การประเมินผลระดับสถานศึกษา เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกคนที่เรียนในชั้นปีสุดท้ายของแต่ละช่วงชั้น คือ ป.3 ป.6 ม.3 และ ม.6
3. การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test หรือ O - NET) เป็นการทดสอบความรู้ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของผู้เรียนที่กำลังศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีที่ 6 ทุกคน ทุกสังกัด ต้องเข้ารับการทดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เรียกย่อว่า สทศ. ซึ่งเป็นหน่วยงานภายนอกที่ทำหน้าที่ในการประเมินระดับชาตินั่นเอง
โรงเรียนนาทรายวิทยาคม ได้ให้ความสำคัญของการสอบ O-NET โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี 3 หลัก คือ หลักคิด (หลักการ วิสัยทัศน์ และนโยบาย) หลักวิชา (ความรู้และประสบการณ์) และหลักปฏิบัติ ดังนี้ มีการกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ กำหนดนโยบาย และใช้หลักการ ดังนี้ หลักการพัฒนาคุณภาพ (Quality Management) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักการ 3 องค์ประกอบ (3-Es) และหลักความเป็นวิชาการ (Academic) มีหลักปฏิบัติ คือ จัดให้มีภาระงานด้านนี้ไว้ในโครงสร้างการบริหารสถานศึกษา มีผู้รับผิดชอบ คณะทำงาน กำหนดบทบาทหน้าที่ มีการจัดทำแผนระยะ 3 ปี แผนปฏิบัติการประจำปี มีการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด เครื่องมือ และเกณฑ์การวัด ไว้อย่างชัดเจน
3. การนำผลคะแนน O-NET ไปใช้พัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนภายในโรงเรียน
โรงเรียนได้ร่วมกันกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย กำหนดวิสัยทัศน์ ด้านการเรียนการสอน ไว้ดังนี้ “ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญโดยเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ให้ความสำคัญทั้งด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านคุณธรรม และเจตคติ สามารถบูรณาการ นำไปใช้ ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาและการดำรงชีวิต ตลอดจน มุ่งเน้นในการศึกษา ค้นคว้า วิจัยของครู เพื่อนำผลมาพัฒนาการเรียนการสอนให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น” และได้กำหนดนโยบาย ดังนี้
“สูงกว่ามาตรฐาน คือ เป้าหมาย ขวนขวาย ข้อมูลสนเทศ ครบ
เกณฑ์ คัด แยก คน ชัด พัฒนา ส่งเสริม แก้ไข ตรงจุด รุดหน้า ทุกตัวชี้วัด”
พันธกิจ (Mission) พันธกิจหลักที่โรงเรียนเน้นในการดำเนินการมีดังนี้
1. เป็นสถานศึกษาต้นแบบการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมาตรฐานคุณภาพของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. พัฒนากระบวนการคิด เพื่อให้ผู้เรียนมีศักยภาพในการแสวงหาความรู้
3. ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้
4. พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา เพื่อบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ยุทธศาสตร์ (Strategy)
1. การจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
2. จัดหาและพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
3. พัฒนาระบบเพื่อการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ
4. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนนำไปสู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบ
5. การพัฒนาการให้บริการแก่ชุมชน ท้องถิ่นและธำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม
การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ เพื่อไปสู่เป้าหมาย และวิสัยทัศน์ ด้านการเรียนการสอนได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
1. การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ คู่มือสำหรับผู้บริหารในการนำผลการสอบ O-NET ไปวางแผนปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาครู-นักเรียน (สทศ, 2550)
2. การศึกษา วิเคราะห์ และประเมินสภาพบริบทด้านการเรียนและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน (การวิเคราะห์สภาพบริบทด้านการเรียน โรงเรียนนาทรายวิทยาคม, อัดสำเนา)
3. การวางแผนยุทธศาสตร์กลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มฯ
4. การปฏิบัติการตามแผนดำเนินงาน
5. การประเมินระหว่างการปฏิบัติ
6. การนิเทศ กำกับ ติดตาม และรายงาน
7. การประเมินเมื่อสิ้นสุด
ในขั้นตอน การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ คู่มือสำหรับผู้บริหารในการนำผลการสอบ O-NET ไปวางแผนปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาครู-นักเรียน ของสถาบันทดสอบแห่งชาติ (สทศ, 2550) โดยผู้บริหารและคณะกรรมการบริหารงานวิชาการ ซึ่งมีผู้รับผิดชอบงานประมวลผลการเรียนรู้เป็นเลขาคณะทำงาน จัดทำแนวทางการปฏิบัติงานที่สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพบริบทและเวลาของโรงเรียนให้มากที่สุด ตามแนวปฏิบัติเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน และขั้นตอนการพัฒนาครูและนักเรียน (สทศ, 2550, หน้า 10 - 11) หลังจากนั้นได้มอบแนวทางที่จัดทำขึ้น และคู่มือฯ ของ สทศ.ฯ ดังกล่าวให้ครูทุกท่าน ทางอีเมล์ และจัดประชุมคณะครูทุกท่าน ได้นำไปศึกษาและปฏิบัติตาม โดยเพิ่มเติมรายละเอียดในการปฏิบัติบางอย่าง
ขั้นตอนการศึกษา วิเคราะห์ ประเมินสภาพบริบทด้านการเรียนและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน (SWOT) ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจและสำคัญอย่างยิ่งขั้นตอนหนึ่ง โดยจัดประชุมสัมมนา อภิปรายกลุ่ม ของคณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษา ทั้งโดยรวมและแยกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และจุดที่ต้องพัฒนา ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยการนำผลการสอบวัดผลปลายภาคในปีการศึกษานั้น ๆ รวมทั้งผลสอบ O-NET มาวิเคราะห์ ย้อนกลับไป 3 – 5 ปี เพื่อดูแนวโน้ม มาตรฐานและตัวชี้วัดที่นักเรียนอ่อนด้อย ตรวจสอบโครงการสอน และแผนการจัดการเรียนรู้ ประเมินสภาพบริบทที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอน บันทึก หาแนวทาง ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกในโอกาสต่อไป และจัดหา จัดสร้าง นวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว นอกจากนั้นยังได้จัดหาคู่มือการวัดและประเมินผลของสถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ เพื่อมอบให้แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้ศึกษา แนวทางการออกแบบทดสอบ และจัดฝึกอบรมให้ความรู้และทักษะในการจัดทำแบบทดสอบตามแนวทางของ สทศ. และการวิเคราะห์แบบทดสอบของครูในแต่ละภาคเรียนโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
ขั้นตอนการวางแผนกลยุทธ์ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยครูในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดทำแผนงาน โครงการ เพื่อแก้ไข และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้เพิ่มขึ้น นำเสนอต่อกลุ่มใหญ่ ทำข้อตกลงกับผู้บริหารโดยหัวหน้ากลุ่มฯ และจัดทำเป็นประกาศโรงเรียน ติดไว้ในที่ที่ทุกคนได้เห็นทุกวัน
ขั้นตอนการปฏิบัติตามแผนการดำเนินงาน โดยเลขาโครงการฯ หรือ กิจกรรม ซึ่งมีทั้งการจัดในลักษณะการบูรณาการ หรือจัดขึ้นเป็นการเฉพาะ มีทั้งที่จัดเป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่มระดับชั้น กลุ่มเล็ก และรายบุคคล การจัดกิจกรรมต่าง ๆ จัดให้มีอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้
การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ตามระบบดูแลช่วยเหลือ และระบบการจัดทำสารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน และใช้อย่างมีประสิทธิภาพ คัด แยก กลุ่มนักเรียน ตามตัวชี้วัด ทั้งด้านการเรียน และมาตรฐานคุณภาพด้านผู้เรียน กำหนดผู้รับผิดชอบพัฒนาและแก้ไขปัญหา เป็นการพัฒนาอย่างองค์รวมและเฉพาะ ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ด้านสุขภาพกาย ค่า BMI ของนักเรียน แยกออกเป็นกลุ่ม ๆ เช่น ผอมมากที่สุด ผอมปานกลาง และผอม กลุ่มปกติ กลุ่มท้วม กลุ่มอ้วน กลุ่มอ้วนมาก และหาแนวทางแก้ไข ส่งเสริม อย่างเป็นรูปธรรม ด้านการอ่าน แยกออกเป็น 5 ระดับ และจัดคลินิก เพื่อแก้ไขปัญหา โดยใช้คาบอิสระ การส่งเสริมวิชาการ และกิจกรรมชุมนุม พัฒนาผู้เรียนมาแก้ปัญหา โดยมีทีมครูและเพื่อน ๆ ที่มีศักยภาพมาช่วยดูแล เป็นต้น ทำให้กิจกรรมนี้มีความชัดเจน เปรียบเหมือนมีหมอเฉพาะทางให้การรักษาโรคแต่ละโรคนั่นเอง
กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน พี่สอนน้อง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 เป็นการใช้เทคนิคการจัดกลุ่มนักเรียนเพื่อมาช่วยกันด้านการเรียน โดยมีครูแต่ละท่านรับผิดชอบอีกชั้นหนึ่ง เริ่มจากคู่เก่ง – อ่อน (2 คน - คู่บัดดี้) 2 คู่ เป็นกลุ่มเล็ก (4 คน) ในระดับชั้น ม.3 มีพี่เลี้ยงจาก ม.4 และ ม.5 ที่เรียนเก่งมาเป็นพี่เลี้ยง 1 คน และครูจะรับผิดชอบดูแล นักเรียนกลุ่มเล็ก 1 – 2 กลุ่ม รวม (4 – 8 คน) เพื่อให้คู่บัดดี้ช่วยกันดูแลเรื่องกิจกรรมทางการเรียน โดยมีครูที่ปรึกษากลุ่มติดตามอย่างใกล้ชิด นักเรียนทุกกลุ่มจะต้องปฏิบัติกิจกรรมการยกระดับผลสัมฤทธิ์ร่วมกัน และเข้าพบครูที่ปรึกษาทุกเช้าก่อนการเข้าเรียนตามปกติ จัดกิจกรรมการติวข้อสอบร่วมกัน ให้คำปรึกษาสำหรับมาตรฐานและตัวชี้วัดที่มีปัญหา ทำให้นักเรียนในกลุ่มมีความรักใคร่สามัคคีและติดตามผลการเรียนของตนเองอย่างใกล้ชิด
โครงการสอนเสริมแบบเข้มเพื่อเตรียมความพร้อมในการทดสอบระดับชาติ(O - NET) เป็นโครงการที่ต่อเนื่อง จากปีการศึกษา 2550 เป็นต้นมา โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ในแต่ละปีมีการเพิ่มกิจกรรมให้เข้มข้นมากขึ้น โดยในปีการศึกษา 2550 มุ่งพัฒนาเฉพาะนักเรียนที่อยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการเน้นการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเป็นสำคัญ ปีต่อมามีการสอนเสริมแบบเข้มแก่นักเรียนทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 โดยจัดให้มีการเรียนนักเรียนชั้น ม.2 และ ม.5 ในช่วงปิดภาคฤดูร้อน (มีนาคม – เมษายน) เพื่อให้มีการเรียนการสอนเนื้อหาให้จบหลักสูตรก่อนเดือนธันวาคมของแต่ละปี หลังจากนั้นจัดให้มีการทบทวนความรู้ทั้งในระดับช่วงชั้น (ม.1- 3 และ ม. 4 -6) ในช่วงเดือนมกราคม ก่อนมีการทดสอบระดับชาติ ในเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปี
ในขั้นการเตรียมการสอนเสริมแบบเข้ม มีการประชุมชี้แจง และขอความเห็นชอบจากผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนชั้น ม. 2 และ ม. 5 ที่จะจบการศึกษาในปีการศึกษานั้น ๆ รวมทั้งผู้ปกครองของนักเรียน ให้ได้รับทราบและปฏิบัติอย่างถูกต้อง ตรงกัน ในการประชุมแต่ละกลุ่ม ผู้บริหารสถานศึกษาได้เป็นผู้แจ้งจุดประสงค์ กิจกรรมตามโครงการ พร้อมกับขอความร่วมมือจากนักเรียนและผู้ปกครองโดยการทำข้อตกลงร่วมกันเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่กำหนดไว้ ในขั้นการดำเนินการสอนเสริมแบบเข้ม ได้ประสานขอความร่วมมือครูจากสถานศึกษาอื่น ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์การสอน ในสาขาวิชานั้น ๆ และเป็นที่รู้จัก มาเป็นผู้สอน กำหนดเป็นตารางเช้า - บ่าย เน้นในด้านแบบทดสอบตามมาตรฐานการศึกษา โดยเริ่มมีการสอนในช่วงตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึง เดือนมกราคม ของทุกปี
โครงการทดสอบวัดความรู้ก่อนการทดสอบระดับชาติ (Pre O-NET) มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดผลและเตรียมความพร้อมแก่นักเรียนโดยใช้ข้อสอบของ สทศ. ที่ดาวน์โหลดมา และคัดเลือกให้เหมาะสมทั้งเชิงปริมาณในแต่ละมาตรฐาน เวลา และอื่น ๆ จัดสอบให้เหมือนกับการสอบจริง ตามตารางสอบของ สทศ. โดยครูทุกคนให้ความสำคัญกับโครงการนี้เป็นมาก มีการประชุมก่อนการเริ่มโครงการ เพื่อทำความเข้าใจที่ตรงกัน ในส่วนของนักเรียนได้มีการประชาสัมพันธ์ตั้งแต่ต้นปี การอ่านหนังสือ อุปกรณ์การสอบ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน การให้รางวัลสำหรับนักเรียนที่มีคะแนนสอบสูงสุดในแต่ละกลุ่มรายวิชา นักเรียนในกลุ่มเป้าหมายเข้าสอบทุกคน และมีการประกาศผลการสอบอีกวันหนึ่งให้นักเรียนทราบและผู้บริหารสถานศึกษาได้มอบทุนการศึกษาและเกียรติบัตรแก่นักเรียนที่ได้ระดับคะแนนสูงสุดในแต่ละกลุ่มรายวิชา ในส่วนของครูนำผลการสอบมาปรับปรุง เพิ่มเติมในส่วนที่นักเรียน ยังมีปัญหา และจัดกิจกรรมเพิ่มเพิ่มเติม จนถึงสอบจริง
จากตัวอย่างกิจกรรมและโครงการดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนนาทรายวิทยาคม ถือว่าเป็นกิจกรรมเด่นที่เป็นปัจจัยสนับสนุน ต่อระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและผลคะแนนสอบในระดับชาติของแต่ละปีการศึกษา และนอกจากนี้ก็ยังมีงาน กิจกรรม โครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอันเป็นตัวกระตุ้นและสนับสนุนการพัฒนาทางการศึกษาที่ได้ปฏิบัติเป็นกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นใหม่ทุกๆ ปี อาจยกตัวอย่างได้ดังรายละเอียดต่อไปนี้ เริ่มต้นจากการติดตาม นิเทศ แผนการจัดการเรียนรู้ของผู้อำนวยการโรงเรียนโดยสุ่มตรวจในช่วงเปิดภาคเรียนว่าครูท่านใดดำเนินการสอนตามแผนการสอน ซึ่งต้องสอดคล้องกับแผนการสอนอย่างย่อ และรายชั่วโมง โดยแผนดังกล่าวต้องอยู่ในห้องเรียน พร้อมรับการสุ่มตรวจสอบโดยผู้อำนวยโรงเรียน เมื่อสิ้นภาคเรียน มีการประชุมครูเพื่อดูว่า แผนการสอนรายชั่วโมงใด ใช้แล้วมีปัญหา ไม่สามารถปฏิบัติได้จริงก็ให้ปรับปรุง หรือปัญหาส่วนที่เกิดขึ้นกับนักเรียนมีอะไรบ้าง เพื่อหาแนวทางแก้ไข จัดให้มีการประเมินคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนถิ่นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ในช่วงใกล้สิ้นปีการศึกษา ทั้งนี้มีการเปิดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ในภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2552 รวมทั้งจัดให้มีชั่วโมงสอนเสริมในตารางเรียนของนักเรียนทุกระดับชั้น มีการพัฒนานักเรียนเป็นกลุ่มๆ โดยการจัดกิจกรรมการเข้าค่ายสอนเสริมใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ของนักเรียนแต่ละระดับชั้น เพิ่มกิจกรรมการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการทดสอบระดับชาติแก่นักเรียนด้วยการแข่งขันการเขียนคำขวัญ การเขียนเรียงความ และการจัดบอร์ดความรู้ ทุกปีการศึกษา ส่งเสริมและให้ขวัญกำลังใจแก่ครูผู้พัฒนาการเรียนการสอนในด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน การศึกษารายกรณีและการใช้สื่อนวัตกรรมทางการสอน ระดับยอดเยี่ยมในทุกภาคเรียน และทางโรงเรียนนาทรายวิทยาคมก็เล็งเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนโดยมีการประชุมประจำภาคเรียน ชี้แจงผลการเรียน และร่วมกันกำหนดนโยบายการพัฒนานักเรียน มีส่วนร่วมในกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ ของโรงเรียนและประเทศชาติ เชิดชูเกียรติกับแม่ดีเด่นในด้านต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม และที่สำคัญที่สุดก็คือการรายงานผลการพัฒนาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบอย่างเป็นขั้นตอน
กิจกรรมและโครงการกล่าวมานี้ เป็นเพียงตัวอย่างที่โรงเรียนนาทรายวิทยาคมได้ดำเนินการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งครู ต้องมีการเปลี่ยนการสอน ให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น มีวางแผนและวิเคราะห์การสอนอย่างเป็นระบบมากขึ้น มุ่งพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียนได้อย่างตรงจุด ส่วนนักเรียนมีการพัฒนาให้มีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนการสอนมากขึ้นส่งผลให้นักเรียนชอบมาโรงเรียนและมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนรวมถึงทุก ๆ กิจกรรมที่จัดขึ้น และมีความสุขกับการเรียน ส่งผลให้ผู้ปกครองนักเรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องยอมรับในการจัดการศึกษาของโรงเรียน โดยการส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนในโรงเรียนเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 20 – 25
ขั้นตอนของการประเมินระหว่างการดำเนินการ นิเทศ กำกับ ติดตาม และการประเมินเมื่อสิ้นสุดการดำเนินการนั้น มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ มีแผนการนิเทศ การประเมิน และการรายงาน ปฏิทินการปฏิบัติงาน และกำหนดส่งงาน โดยหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ หัวหน้ากลุ่มบริหารงาน และผู้บริหารสถานศึกษา
3. คะแนน O-NET ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา
จากการทดสอบระดับชาติ (O - NET) ปีการศึกษา 2548 - 2552 รวม 5 ปี สรุปได้ดังนี้ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีการสอบ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักอันได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาฯ และภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระหว่างปีการศึกษา 2548 ถึง 2551 ตามลำดับ และครบทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ในปีการศึกษา 2552 คะแนนสอบมีพัฒนาการดีขึ้นตามลำดับ กล่าวคือ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีผลคะแนนเฉลี่ยร้อยละที่สูงขึ้นในแต่ละปีอย่างชัดเจน ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงที่สุดและเกินร้อยละ 50 ในปีการศึกษา 2551 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่น่าสนใจอีกกลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ซึ่งมีผลคะแนนเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมากเนื่องจากมีผลคะแนนการสอบสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับของแต่ละปีการศึกษาและที่เห็นอย่างชัดเจน คือ ในปีการศึกษา 2550 และ ปีการศึกษา 2551 มีระดับคะแนนสูงกว่าระดับการศึกษาต่าง ๆ คือ สูงกว่า ระดับจังหวัด ระดับสังกัดและระดับประเทศ ส่วนปีการศึกษา 2552 ที่ผ่านมานี้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขและพลศึกษามีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงที่สุดและเกินร้อยละ 50 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์นั้นยังมีระดับผลคะแนนเฉลี่ยสูงบ้างและต่ำบ้างในแต่ละปีการศึกษา
สำหรับในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 นั้น มีการสอบ 5 กลุ่มสาระการเรียนหลักได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาฯและภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ระหว่างปีการศึกษา 2548 ถึง 2549 และมีการสอบครบทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ในปีการศึกษา 2550 เป็นต้นมา ผลคะแนนสอบปรากฏว่า แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีร้อยละคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับที่น่าพอใช้ ซึ่งจะต้องพัฒนาต่อไป มีกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขและพลศึกษามีคะแนนเฉลี่ยร้อยละที่สูงที่สุดในแต่ละปีการศึกษาและเกินร้อยละ 50 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ มีคะแนนอยู่ในระดับที่พอใช้ คือ สูงบ้างต่ำบ้างในแต่ละปีการศึกษา
โดยภาพรวมผลคะแนนเฉลี่ยทั้งหมดแล้วจะเห็นได้ว่าคะแนนเฉลี่ยของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับจังหวัด ระดับสังกัด และระดับประเทศมาเป็นระยะเวลา 2 ปี และสูงกว่าในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
5. ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาในปีต่อไป
5.1 ปัญหาและอุปสรรค ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สามารถอภิปรายได้ 2 ช่วง คือ ในช่วงปีการศึกษา 2548 – 2549 และช่วงปีการศึกษา 2550 – 2552 กล่าว คือ ในระหว่างปีการศึกษา 2548 - 2549 พบปัญหาเกี่ยวกับการมาเรียนที่ไม่สม่ำเสมอของนักเรียนอันมีสาเหตุมาจากสภาพเศรษฐกิจทางครอบครัว ซึ่งร้อยละ 90 ของผู้ปกครองนักเรียนมีฐานะค่อนข้างยากจน มีปัญหาเรื่อง ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาโรงเรียนและค่าอาหารกลางวัน ผู้ปกครองนักเรียนบางส่วน ไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการศึกษาจึงมุ่งใช้แรงงานจากนักเรียนในการทำมาหากิน อาชีพของผู้ปกครองร้อยละ 90 เป็นเกษตรกร ในส่วนของโรงเรียนประสบกับปัญหาจำนวนครูที่มีไม่เพียงพอ และมีครูที่ไม่ตรงตามวิชาเอกซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของการสอนในระดับมัธยมศึกษา สื่อและอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่เพียงพอ นักเรียนส่วนมากไม่มีหนังสือประกอบการเรียน สื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศยังมีน้อย ทำให้กระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นเฉพาะในห้องเรียน เป็นส่วนใหญ่ รวมถึงงบประมาณที่เขตพื้นที่การศึกษา จัดสรรมาตามจำนวนค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียน ซึ่งขณะนั้นมีนักเรียน 216 คน ไม่เพียงพอ ทำให้ขาดแคลนปัจจัยต่าง ๆ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจัดได้เฉพาะในเวลาเรียนเท่านั้น เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่นั้นอยู่บ้านไกลทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการเดินทาง ในความมืดก็มีแสงสว่างอยู่ เช่นกัน นักเรียนมีความรัก ความเอาใจใส่ต่อการเรียน มีความซื่อสัตย์ เสียสละ ซึ่งมีตัวบ่งชี้จากโล่รางวัลในระดับต่างๆ ที่นักเรียนและโรงเรียนได้รับ ประการที่สำคัญที่สุดอีกอย่างก็ คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนเอาใจใส่และทุมเทต่อการจัดการเรียนการสอนมาโดยตลอด ในช่วงปลายปีการศึกษา 2549 นั้น มีกระแสเรื่อง การถ่ายโอนสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นทำให้ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียนทุกคน และบุคคลที่เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ ได้ปรึกษาหารือและลงมติให้มีการถ่ายโอนสถานศึกษาไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน) อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนนาทรายวิทยาคม ในการถ่ายโอนครั้งนี้มีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ไม่ถ่ายโอนไปพร้อมกับโรงเรียนจึงขอย้ายไปโรงเรียนที่อยู่ใกล้บ้านของตนเอง ทำให้โรงเรียนขาดอัตรากำลัง ต่อมากรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้จัดสรรตำแหน่งครูผู้ช่วยแทนตำแหน่งเดิมเพิ่มเป็น 18 อัตรา ปัญหาจากการถ่ายโอน แม้จะมีครูครบตามเกณฑ์และวิชาเอกแล้ว แต่ปัญหาใหม่ที่พบคือ ครูร้อยละ 95 เป็นครูที่บรรจุใหม่ ประสบการณ์มีน้อย ทั้งประสบการณ์ทางการสอน เทคนิคการสอน การปฏิบัติงานต่าง ๆ จึงทำให้ต้องมีการลองผิดลองถูกบ่อยครั้ง และในการถ่ายโอนนั้นครูและบุคลาการทางการศึกษาทุกคนร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน มีการเรียนรู้ร่วมกันในการจัดการศึกษา ทำให้เกิดปัญหาการจัดการศึกษาบางอย่างในเบื้องต้น เช่น ปัญหาด้านการติดต่อสื่อสาร เนื่องจากโรงเรียนมีระยะทางห่างจากต้นสังกัด 130 กิโลเมตร ปัญหาด้านคววามรู้ ความสามารถด้านการเบิกจ่าย ปัญหาด้านการบริการวิชาการ เป็นต้น ซึ่งต้องเรียนรู้และช่วยกันแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
ปัจจุบันโรงเรียนได้ปรับตัวภายใต้สังกัดใหม่ โดยใช้ระยะเวลา 3 ปี ทำให้เกิดความเข้าใจและการปฏิบัติงานคล่องตัวมากขึ้น มีจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีการศึกษาอย่างเห็นได้ชัดเจน ครูและบุคลากรทางการศึกษาเพิ่มขึ้นและสอนตรงตามวิชาเอก ครูที่มีประสบการณ์น้อยได้ผ่านการสอนงานอย่างเป็นระบบ มีความมุมานะ มุ่งมั่น ทุ่มเท และเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัดมากขึ้นทำให้เพียงพอในการพัฒนาการจัดการศึกษา มีบริการสวัสดิการแก่นักเรียนต่าง ๆ เช่น โครงการเรียนฟรี 15 ปีและท้องถิ่นจัดสวัสดิการอาหารกลางวัน บริการรถรับส่งนักเรียน ชุดพละศึกษาและ หนังสือยืมเรียน มีสื่ออุปกรณ์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนเพิ่มมากขึ้น เช่น ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ในส่วนของนักเรียนนั้นได้มีโอกาสในการเรียนรู้ทั้งสื่อที่มีอยู่ในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาเพิ่มมากขึ้นรวมถึงนักเรียนได้มีโอกาสแสดงความรู้ความสามารถในด้านทักษะวิชาการ ดนตรี นาฎศิลป์ ศิลปะและการกีฬา เพิ่มมากขึ้นในระดับการแข่งขันของระดับต่างๆ ทั้งในหน่วยงานต้นสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ปกครองนักเรียนทุก ๆ คน ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลและการจัดการศึกษา ของโรงเรียนนาทรายวิทยาคม โดยสังเกตได้จาก การเข้าร่วมประชุมผู้ปกครองของนักเรียน การทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชน การประชาสัมพันธ์ การร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาผู้เรียน เป็นต้น
5.2 แนวทางในการพัฒนาในปีต่อไป ในการพัฒนานักเรียนทั้ง 6 ด้าน คือ 1. ด้านความรู้ ความคิด ในสมอง 2. ด้านคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ สุนทรียะ ต่าง ๆ 3. ด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต 4. ด้านทักษะของกล้ามเนื้อ เช่น กีฬา 5. ด้านทักษะทางสังคม การอยู่ร่วมกับผู้อื่น 6. ด้านทักษะทางภาษาและคณิตศาสตร์ ในปีต่อไปโรงเรียนได้ดำเนินกิจกรรมและโครงการเช่นเดียวกันกับปีการศึกษา 2552 และได้กำหนดแนวทางที่มีความชัดเจน และเข้มข้นมากยิ่งขึ้นทั้งการวิเคราะห์ผู้เรียนและแก้ไข เป็นรายบุคคล ในทุกตัวชี้วัด เพิ่มทักษะและศักยภาพของครูในด้านการวัดผลและประเมินผล ตามแนวทางของ สทศ.
6. บทสรุป
ในด้านการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ของโรงเรียนนาทรายวิทยาคม ถือว่าประสบผลสำเร็จในระดับที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก ซึ่งสอดคล้องกับสโลแกน ของสถานศึกษาที่ว่า “โรงเรียนท้องถิ่น โดยคนท้องถิ่น เพื่อคนท้องถิ่น” และปรัชญาของโรงเรียน คือ “ผู้ใฝ่รู้ ย่อมเป็นผู้เลิศ” ซึ่งผลสำเร็จดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นจากการยึดหลักการที่สำคัญ 5 ประการ ประการที่ 1 การพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง การนำข้อมูล มาจัดกระทำ วิเคราะห์ เป็นสารสนเทศ นำมาพัฒนาและตัดสินใจ โดยมีการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ให้ดีขึ้นกว่าเดิม อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่องประการที่ 2 การเอาใจใส่อย่างจริงจังของครูและบุคลากรทางการศึกษา ความมุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละ และเอาใจใส่อย่างจริงจังต่องานที่ได้รับมอบหมายของครูใหม่ ไฟแรง ประการที่ 3 งบประมาณการสนับสนุนที่เพียงพอ ทั้งด้านอาคารสถานที่ และปัจจัยด้าน อี่น ๆ ทำให้โรงเรียนที่ห่างไกลชายขอบจังหวัดลำพูน กลับมามีนักเรียนเพิ่มขึ้นตามลำดับเหมือนเช่นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงของจังหวัด ในขณะที่โรงเรียนมัธยมอื่น ๆ มีจำนวนนักเรียนลดลง ประการที่ 4 หลักของการมีส่วนร่วม โดยการระดม ประสาน สัมพันธ์ ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ หน่วยงานต้นสังกัด คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ชมรมผู้ปกครองนักเรียน ชมรมผู้ขับรถรับส่งนักเรียน ชมรมศิษย์เก่า รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมพัฒนา ประเมิน และร่วมชื่นชมยินดี ประการที่ 5 สุดท้าย คือ การรายงานผลอย่างเป็นระบบและประชาสัมพันธ์ การประเมินผลระหว่างการดำเนินงาน สรุปผลเมื่อสิ้นสุดการทำงาน และรายงานผลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
การพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอน โดยการนำคะแนน O-NET มาใช้ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งประการหนึ่ง เนื่องจากเป็นการลดความลำเอียงที่ผู้สอน ดำเนินการสอนเอง วัดเอง ประเมินเอง ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่จะใช้เครื่องมือที่มีความไม่เที่ยงตรงทั้งเชิงโครงสร้างและเนื้อหา และอาจไม่มีความเชื่อมั่น ดังนั้นจึงควรนำคะแนน O-NET มาประกอบการพิจารณา วางแผน และปรับปรุงแก้ไข อย่างต่อเนื่อง แม้ว่า ตัวแปรที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็ คือ ตัวนักเรียนที่เปลี่ยนไปทุกปี และในขณะเดียวกัน สทศ. ก็มีการพัฒนาเครื่องมือไปพร้อมกัน ซึ่งสอดคล้องกับหลักของการพัฒนาและหลักของธรรมชาติ คือ การเปลี่ยนแปลงคือการพัฒนา การไม่อยู่นิ่งคือการมีชีวิตนั่นเอง
บรรณานุกรม
กรมวิชาการ. 2546. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2544 และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพอักษรไทย (น.ส.พ. ฟ้าเมืองไทย).
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. 2551. แนวทางการนำมาตรฐานการศึกษา
ขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร
แห่งประเทศไทยจำกัด.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. 2549. มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. 2548. มาตรฐานการศึกษาของชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสหายบล็อก และการพิมพ์.
สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ. 2550. คู่มือสำหรับผู้บริหารในการนำผลการสอบ O-NET
ไปวางแผนปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาครู-นักเรียน. กรุงเทพฯ:
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
รัตนะ บัวสนธ์ นางจุฑามาส ศรีจำนง และว่าที่ร้อยตรี สิริศักดิ์ อาจวิชัย. ม.ป.ป. การวิเคราะห์
มาตรฐานการศึกษาของเทศไทย. พิษณุโลก: อัดสำเนา.
เว็ปไซต์
http://www.lamphun.go.th/intro.php?topicid=5
http://www.niets.or.th/
บทความ เรื่อง การนำผลคะแนน O-NET ไปใช้พัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนภายในโรงเรียนนาทรายวิทยาคม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการที่โรงเรียนได้ให้ความสำคัญต่อการสอบ O-NET และการนำผลไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดผลดีขึ้นตามลำดับ โดยจะขอนำเสนอ ตามหัวข้อ ดังนี้ 1) สภาพบริบทของโรงเรียนนาทรายวิทยาคม 2) การให้ความสำคัญของการสอบ O-NET 3) การนำผลคะแนน O-NET ไปใช้พัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนภายในโรงเรียน 4) คะแนน O-NET ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา 5) ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาในปีต่อไป 6) บทสรุป โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพบริบทของโรงเรียนนาทรายวิทยาคม
พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียม ศรีหริภูญชัย เป็นคำขวัญของจังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นจังหวัดเล็ก ๆ ในทางภาคเหนือของประเทศไทย ข้อมูลจากสำนักงานจังหวัดลำพูนมีประชากร 409,056 คน (สำนักงานจังหวัดลำพูน, http://www.lamphun.go.th/index2.php) ประกอบด้วย 8 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอป่าซาง อำเภอบ้านธิ อำเภอแม่ทา อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอทุ่งหัวช้าง และอำเภอลี้ และจากข้อมูลการศึกษา จังหวัดลำพูนมีการจัดระบบการศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน มีสถานศึกษาในระบบ ตั้งแต่อนุบาลถึงระดับอุดมศึกษา มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 2 เขตพื้นที่ การศึกษาในระบบโรงเรียน มีสถานศึกษาทั้งหมด 355 แห่ง ระดับประถมศึกษา 275 แห่ง สถานศึกษาเอกชน 26 แห่ง ระดับมัธยมศึกษา 17 แห่ง อาชีวศึกษา 4 แห่ง ร.ร.พระปริยัติธรรมแผนกสามัญ 10 แห่ง กองการศึกษาส่วนท้องถิ่น (เทศบาล) 7 แห่ง และมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย 1 โรงเรียนนาทรายวิทยาคม ตั้งอยู่ในอำเภอลี้ ถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2550 เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึง 6 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาช่างยนต์และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เป็นโรงเรียนมัธยมแห่งแรกและแห่งเดียวที่ถ่ายโอนฯ ในปีการศึกษา 2553 นี้ มีการจัดการเรียนการสอน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในระดับชั้น ม.3 และ ม.6 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2546) ในปีการศึกษา 2553นี้ มีจำนวนนักเรียน 20 ห้องเรียน 519 คน มีข้าราชการสายบริหาร จำนวน 1 คน สายผู้สอน 16 คน ครูอัตราจ้างตามภารกิจ จำนวน 14 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ – การเงินบัญชี จำนวน 2 คน นักการภารโรงจำนวน 2 คน และ พนักงานขับรถจำนวน 1 คน
2. การให้ความสำคัญของการสอบ O-NET
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดให้มีการวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียนไว้ 3 ระดับ คือ ระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ละระดับชาติ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพของผู้เรียน
1. การวัดผลและประเมินผลระดับชั้นเรียน เป็นหน้าที่ของครูผู้สอนที่จะต้องหาคำตอบว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าทั้งด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ คุณธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ เนื่องมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมากน้อยเพียงใด
2. การประเมินผลระดับสถานศึกษา เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกคนที่เรียนในชั้นปีสุดท้ายของแต่ละช่วงชั้น คือ ป.3 ป.6 ม.3 และ ม.6
3. การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test หรือ O - NET) เป็นการทดสอบความรู้ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของผู้เรียนที่กำลังศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีที่ 6 ทุกคน ทุกสังกัด ต้องเข้ารับการทดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เรียกย่อว่า สทศ. ซึ่งเป็นหน่วยงานภายนอกที่ทำหน้าที่ในการประเมินระดับชาตินั่นเอง
โรงเรียนนาทรายวิทยาคม ได้ให้ความสำคัญของการสอบ O-NET โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี 3 หลัก คือ หลักคิด (หลักการ วิสัยทัศน์ และนโยบาย) หลักวิชา (ความรู้และประสบการณ์) และหลักปฏิบัติ ดังนี้ มีการกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ กำหนดนโยบาย และใช้หลักการ ดังนี้ หลักการพัฒนาคุณภาพ (Quality Management) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักการ 3 องค์ประกอบ (3-Es) และหลักความเป็นวิชาการ (Academic) มีหลักปฏิบัติ คือ จัดให้มีภาระงานด้านนี้ไว้ในโครงสร้างการบริหารสถานศึกษา มีผู้รับผิดชอบ คณะทำงาน กำหนดบทบาทหน้าที่ มีการจัดทำแผนระยะ 3 ปี แผนปฏิบัติการประจำปี มีการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด เครื่องมือ และเกณฑ์การวัด ไว้อย่างชัดเจน
3. การนำผลคะแนน O-NET ไปใช้พัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนภายในโรงเรียน
โรงเรียนได้ร่วมกันกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย กำหนดวิสัยทัศน์ ด้านการเรียนการสอน ไว้ดังนี้ “ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญโดยเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ให้ความสำคัญทั้งด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านคุณธรรม และเจตคติ สามารถบูรณาการ นำไปใช้ ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาและการดำรงชีวิต ตลอดจน มุ่งเน้นในการศึกษา ค้นคว้า วิจัยของครู เพื่อนำผลมาพัฒนาการเรียนการสอนให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น” และได้กำหนดนโยบาย ดังนี้
“สูงกว่ามาตรฐาน คือ เป้าหมาย ขวนขวาย ข้อมูลสนเทศ ครบ
เกณฑ์ คัด แยก คน ชัด พัฒนา ส่งเสริม แก้ไข ตรงจุด รุดหน้า ทุกตัวชี้วัด”
พันธกิจ (Mission) พันธกิจหลักที่โรงเรียนเน้นในการดำเนินการมีดังนี้
1. เป็นสถานศึกษาต้นแบบการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมาตรฐานคุณภาพของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. พัฒนากระบวนการคิด เพื่อให้ผู้เรียนมีศักยภาพในการแสวงหาความรู้
3. ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้
4. พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา เพื่อบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ยุทธศาสตร์ (Strategy)
1. การจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
2. จัดหาและพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
3. พัฒนาระบบเพื่อการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ
4. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนนำไปสู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบ
5. การพัฒนาการให้บริการแก่ชุมชน ท้องถิ่นและธำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม
การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ เพื่อไปสู่เป้าหมาย และวิสัยทัศน์ ด้านการเรียนการสอนได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
1. การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ คู่มือสำหรับผู้บริหารในการนำผลการสอบ O-NET ไปวางแผนปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาครู-นักเรียน (สทศ, 2550)
2. การศึกษา วิเคราะห์ และประเมินสภาพบริบทด้านการเรียนและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน (การวิเคราะห์สภาพบริบทด้านการเรียน โรงเรียนนาทรายวิทยาคม, อัดสำเนา)
3. การวางแผนยุทธศาสตร์กลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มฯ
4. การปฏิบัติการตามแผนดำเนินงาน
5. การประเมินระหว่างการปฏิบัติ
6. การนิเทศ กำกับ ติดตาม และรายงาน
7. การประเมินเมื่อสิ้นสุด
ในขั้นตอน การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ คู่มือสำหรับผู้บริหารในการนำผลการสอบ O-NET ไปวางแผนปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาครู-นักเรียน ของสถาบันทดสอบแห่งชาติ (สทศ, 2550) โดยผู้บริหารและคณะกรรมการบริหารงานวิชาการ ซึ่งมีผู้รับผิดชอบงานประมวลผลการเรียนรู้เป็นเลขาคณะทำงาน จัดทำแนวทางการปฏิบัติงานที่สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพบริบทและเวลาของโรงเรียนให้มากที่สุด ตามแนวปฏิบัติเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน และขั้นตอนการพัฒนาครูและนักเรียน (สทศ, 2550, หน้า 10 - 11) หลังจากนั้นได้มอบแนวทางที่จัดทำขึ้น และคู่มือฯ ของ สทศ.ฯ ดังกล่าวให้ครูทุกท่าน ทางอีเมล์ และจัดประชุมคณะครูทุกท่าน ได้นำไปศึกษาและปฏิบัติตาม โดยเพิ่มเติมรายละเอียดในการปฏิบัติบางอย่าง
ขั้นตอนการศึกษา วิเคราะห์ ประเมินสภาพบริบทด้านการเรียนและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน (SWOT) ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจและสำคัญอย่างยิ่งขั้นตอนหนึ่ง โดยจัดประชุมสัมมนา อภิปรายกลุ่ม ของคณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษา ทั้งโดยรวมและแยกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และจุดที่ต้องพัฒนา ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยการนำผลการสอบวัดผลปลายภาคในปีการศึกษานั้น ๆ รวมทั้งผลสอบ O-NET มาวิเคราะห์ ย้อนกลับไป 3 – 5 ปี เพื่อดูแนวโน้ม มาตรฐานและตัวชี้วัดที่นักเรียนอ่อนด้อย ตรวจสอบโครงการสอน และแผนการจัดการเรียนรู้ ประเมินสภาพบริบทที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอน บันทึก หาแนวทาง ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกในโอกาสต่อไป และจัดหา จัดสร้าง นวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว นอกจากนั้นยังได้จัดหาคู่มือการวัดและประเมินผลของสถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ เพื่อมอบให้แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้ศึกษา แนวทางการออกแบบทดสอบ และจัดฝึกอบรมให้ความรู้และทักษะในการจัดทำแบบทดสอบตามแนวทางของ สทศ. และการวิเคราะห์แบบทดสอบของครูในแต่ละภาคเรียนโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
ขั้นตอนการวางแผนกลยุทธ์ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยครูในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดทำแผนงาน โครงการ เพื่อแก้ไข และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้เพิ่มขึ้น นำเสนอต่อกลุ่มใหญ่ ทำข้อตกลงกับผู้บริหารโดยหัวหน้ากลุ่มฯ และจัดทำเป็นประกาศโรงเรียน ติดไว้ในที่ที่ทุกคนได้เห็นทุกวัน
ขั้นตอนการปฏิบัติตามแผนการดำเนินงาน โดยเลขาโครงการฯ หรือ กิจกรรม ซึ่งมีทั้งการจัดในลักษณะการบูรณาการ หรือจัดขึ้นเป็นการเฉพาะ มีทั้งที่จัดเป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่มระดับชั้น กลุ่มเล็ก และรายบุคคล การจัดกิจกรรมต่าง ๆ จัดให้มีอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้
การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ตามระบบดูแลช่วยเหลือ และระบบการจัดทำสารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน และใช้อย่างมีประสิทธิภาพ คัด แยก กลุ่มนักเรียน ตามตัวชี้วัด ทั้งด้านการเรียน และมาตรฐานคุณภาพด้านผู้เรียน กำหนดผู้รับผิดชอบพัฒนาและแก้ไขปัญหา เป็นการพัฒนาอย่างองค์รวมและเฉพาะ ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ด้านสุขภาพกาย ค่า BMI ของนักเรียน แยกออกเป็นกลุ่ม ๆ เช่น ผอมมากที่สุด ผอมปานกลาง และผอม กลุ่มปกติ กลุ่มท้วม กลุ่มอ้วน กลุ่มอ้วนมาก และหาแนวทางแก้ไข ส่งเสริม อย่างเป็นรูปธรรม ด้านการอ่าน แยกออกเป็น 5 ระดับ และจัดคลินิก เพื่อแก้ไขปัญหา โดยใช้คาบอิสระ การส่งเสริมวิชาการ และกิจกรรมชุมนุม พัฒนาผู้เรียนมาแก้ปัญหา โดยมีทีมครูและเพื่อน ๆ ที่มีศักยภาพมาช่วยดูแล เป็นต้น ทำให้กิจกรรมนี้มีความชัดเจน เปรียบเหมือนมีหมอเฉพาะทางให้การรักษาโรคแต่ละโรคนั่นเอง
กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน พี่สอนน้อง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 เป็นการใช้เทคนิคการจัดกลุ่มนักเรียนเพื่อมาช่วยกันด้านการเรียน โดยมีครูแต่ละท่านรับผิดชอบอีกชั้นหนึ่ง เริ่มจากคู่เก่ง – อ่อน (2 คน - คู่บัดดี้) 2 คู่ เป็นกลุ่มเล็ก (4 คน) ในระดับชั้น ม.3 มีพี่เลี้ยงจาก ม.4 และ ม.5 ที่เรียนเก่งมาเป็นพี่เลี้ยง 1 คน และครูจะรับผิดชอบดูแล นักเรียนกลุ่มเล็ก 1 – 2 กลุ่ม รวม (4 – 8 คน) เพื่อให้คู่บัดดี้ช่วยกันดูแลเรื่องกิจกรรมทางการเรียน โดยมีครูที่ปรึกษากลุ่มติดตามอย่างใกล้ชิด นักเรียนทุกกลุ่มจะต้องปฏิบัติกิจกรรมการยกระดับผลสัมฤทธิ์ร่วมกัน และเข้าพบครูที่ปรึกษาทุกเช้าก่อนการเข้าเรียนตามปกติ จัดกิจกรรมการติวข้อสอบร่วมกัน ให้คำปรึกษาสำหรับมาตรฐานและตัวชี้วัดที่มีปัญหา ทำให้นักเรียนในกลุ่มมีความรักใคร่สามัคคีและติดตามผลการเรียนของตนเองอย่างใกล้ชิด
โครงการสอนเสริมแบบเข้มเพื่อเตรียมความพร้อมในการทดสอบระดับชาติ(O - NET) เป็นโครงการที่ต่อเนื่อง จากปีการศึกษา 2550 เป็นต้นมา โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ในแต่ละปีมีการเพิ่มกิจกรรมให้เข้มข้นมากขึ้น โดยในปีการศึกษา 2550 มุ่งพัฒนาเฉพาะนักเรียนที่อยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการเน้นการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเป็นสำคัญ ปีต่อมามีการสอนเสริมแบบเข้มแก่นักเรียนทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 โดยจัดให้มีการเรียนนักเรียนชั้น ม.2 และ ม.5 ในช่วงปิดภาคฤดูร้อน (มีนาคม – เมษายน) เพื่อให้มีการเรียนการสอนเนื้อหาให้จบหลักสูตรก่อนเดือนธันวาคมของแต่ละปี หลังจากนั้นจัดให้มีการทบทวนความรู้ทั้งในระดับช่วงชั้น (ม.1- 3 และ ม. 4 -6) ในช่วงเดือนมกราคม ก่อนมีการทดสอบระดับชาติ ในเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปี
ในขั้นการเตรียมการสอนเสริมแบบเข้ม มีการประชุมชี้แจง และขอความเห็นชอบจากผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนชั้น ม. 2 และ ม. 5 ที่จะจบการศึกษาในปีการศึกษานั้น ๆ รวมทั้งผู้ปกครองของนักเรียน ให้ได้รับทราบและปฏิบัติอย่างถูกต้อง ตรงกัน ในการประชุมแต่ละกลุ่ม ผู้บริหารสถานศึกษาได้เป็นผู้แจ้งจุดประสงค์ กิจกรรมตามโครงการ พร้อมกับขอความร่วมมือจากนักเรียนและผู้ปกครองโดยการทำข้อตกลงร่วมกันเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่กำหนดไว้ ในขั้นการดำเนินการสอนเสริมแบบเข้ม ได้ประสานขอความร่วมมือครูจากสถานศึกษาอื่น ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์การสอน ในสาขาวิชานั้น ๆ และเป็นที่รู้จัก มาเป็นผู้สอน กำหนดเป็นตารางเช้า - บ่าย เน้นในด้านแบบทดสอบตามมาตรฐานการศึกษา โดยเริ่มมีการสอนในช่วงตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึง เดือนมกราคม ของทุกปี
โครงการทดสอบวัดความรู้ก่อนการทดสอบระดับชาติ (Pre O-NET) มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดผลและเตรียมความพร้อมแก่นักเรียนโดยใช้ข้อสอบของ สทศ. ที่ดาวน์โหลดมา และคัดเลือกให้เหมาะสมทั้งเชิงปริมาณในแต่ละมาตรฐาน เวลา และอื่น ๆ จัดสอบให้เหมือนกับการสอบจริง ตามตารางสอบของ สทศ. โดยครูทุกคนให้ความสำคัญกับโครงการนี้เป็นมาก มีการประชุมก่อนการเริ่มโครงการ เพื่อทำความเข้าใจที่ตรงกัน ในส่วนของนักเรียนได้มีการประชาสัมพันธ์ตั้งแต่ต้นปี การอ่านหนังสือ อุปกรณ์การสอบ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน การให้รางวัลสำหรับนักเรียนที่มีคะแนนสอบสูงสุดในแต่ละกลุ่มรายวิชา นักเรียนในกลุ่มเป้าหมายเข้าสอบทุกคน และมีการประกาศผลการสอบอีกวันหนึ่งให้นักเรียนทราบและผู้บริหารสถานศึกษาได้มอบทุนการศึกษาและเกียรติบัตรแก่นักเรียนที่ได้ระดับคะแนนสูงสุดในแต่ละกลุ่มรายวิชา ในส่วนของครูนำผลการสอบมาปรับปรุง เพิ่มเติมในส่วนที่นักเรียน ยังมีปัญหา และจัดกิจกรรมเพิ่มเพิ่มเติม จนถึงสอบจริง
จากตัวอย่างกิจกรรมและโครงการดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนนาทรายวิทยาคม ถือว่าเป็นกิจกรรมเด่นที่เป็นปัจจัยสนับสนุน ต่อระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและผลคะแนนสอบในระดับชาติของแต่ละปีการศึกษา และนอกจากนี้ก็ยังมีงาน กิจกรรม โครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอันเป็นตัวกระตุ้นและสนับสนุนการพัฒนาทางการศึกษาที่ได้ปฏิบัติเป็นกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นใหม่ทุกๆ ปี อาจยกตัวอย่างได้ดังรายละเอียดต่อไปนี้ เริ่มต้นจากการติดตาม นิเทศ แผนการจัดการเรียนรู้ของผู้อำนวยการโรงเรียนโดยสุ่มตรวจในช่วงเปิดภาคเรียนว่าครูท่านใดดำเนินการสอนตามแผนการสอน ซึ่งต้องสอดคล้องกับแผนการสอนอย่างย่อ และรายชั่วโมง โดยแผนดังกล่าวต้องอยู่ในห้องเรียน พร้อมรับการสุ่มตรวจสอบโดยผู้อำนวยโรงเรียน เมื่อสิ้นภาคเรียน มีการประชุมครูเพื่อดูว่า แผนการสอนรายชั่วโมงใด ใช้แล้วมีปัญหา ไม่สามารถปฏิบัติได้จริงก็ให้ปรับปรุง หรือปัญหาส่วนที่เกิดขึ้นกับนักเรียนมีอะไรบ้าง เพื่อหาแนวทางแก้ไข จัดให้มีการประเมินคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนถิ่นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ในช่วงใกล้สิ้นปีการศึกษา ทั้งนี้มีการเปิดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ในภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2552 รวมทั้งจัดให้มีชั่วโมงสอนเสริมในตารางเรียนของนักเรียนทุกระดับชั้น มีการพัฒนานักเรียนเป็นกลุ่มๆ โดยการจัดกิจกรรมการเข้าค่ายสอนเสริมใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ของนักเรียนแต่ละระดับชั้น เพิ่มกิจกรรมการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการทดสอบระดับชาติแก่นักเรียนด้วยการแข่งขันการเขียนคำขวัญ การเขียนเรียงความ และการจัดบอร์ดความรู้ ทุกปีการศึกษา ส่งเสริมและให้ขวัญกำลังใจแก่ครูผู้พัฒนาการเรียนการสอนในด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน การศึกษารายกรณีและการใช้สื่อนวัตกรรมทางการสอน ระดับยอดเยี่ยมในทุกภาคเรียน และทางโรงเรียนนาทรายวิทยาคมก็เล็งเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนโดยมีการประชุมประจำภาคเรียน ชี้แจงผลการเรียน และร่วมกันกำหนดนโยบายการพัฒนานักเรียน มีส่วนร่วมในกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ ของโรงเรียนและประเทศชาติ เชิดชูเกียรติกับแม่ดีเด่นในด้านต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม และที่สำคัญที่สุดก็คือการรายงานผลการพัฒนาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบอย่างเป็นขั้นตอน
กิจกรรมและโครงการกล่าวมานี้ เป็นเพียงตัวอย่างที่โรงเรียนนาทรายวิทยาคมได้ดำเนินการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งครู ต้องมีการเปลี่ยนการสอน ให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น มีวางแผนและวิเคราะห์การสอนอย่างเป็นระบบมากขึ้น มุ่งพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียนได้อย่างตรงจุด ส่วนนักเรียนมีการพัฒนาให้มีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนการสอนมากขึ้นส่งผลให้นักเรียนชอบมาโรงเรียนและมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนรวมถึงทุก ๆ กิจกรรมที่จัดขึ้น และมีความสุขกับการเรียน ส่งผลให้ผู้ปกครองนักเรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องยอมรับในการจัดการศึกษาของโรงเรียน โดยการส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนในโรงเรียนเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 20 – 25
ขั้นตอนของการประเมินระหว่างการดำเนินการ นิเทศ กำกับ ติดตาม และการประเมินเมื่อสิ้นสุดการดำเนินการนั้น มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ มีแผนการนิเทศ การประเมิน และการรายงาน ปฏิทินการปฏิบัติงาน และกำหนดส่งงาน โดยหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ หัวหน้ากลุ่มบริหารงาน และผู้บริหารสถานศึกษา
3. คะแนน O-NET ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา
จากการทดสอบระดับชาติ (O - NET) ปีการศึกษา 2548 - 2552 รวม 5 ปี สรุปได้ดังนี้ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีการสอบ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักอันได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาฯ และภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระหว่างปีการศึกษา 2548 ถึง 2551 ตามลำดับ และครบทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ในปีการศึกษา 2552 คะแนนสอบมีพัฒนาการดีขึ้นตามลำดับ กล่าวคือ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีผลคะแนนเฉลี่ยร้อยละที่สูงขึ้นในแต่ละปีอย่างชัดเจน ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงที่สุดและเกินร้อยละ 50 ในปีการศึกษา 2551 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่น่าสนใจอีกกลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ซึ่งมีผลคะแนนเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมากเนื่องจากมีผลคะแนนการสอบสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับของแต่ละปีการศึกษาและที่เห็นอย่างชัดเจน คือ ในปีการศึกษา 2550 และ ปีการศึกษา 2551 มีระดับคะแนนสูงกว่าระดับการศึกษาต่าง ๆ คือ สูงกว่า ระดับจังหวัด ระดับสังกัดและระดับประเทศ ส่วนปีการศึกษา 2552 ที่ผ่านมานี้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขและพลศึกษามีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงที่สุดและเกินร้อยละ 50 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์นั้นยังมีระดับผลคะแนนเฉลี่ยสูงบ้างและต่ำบ้างในแต่ละปีการศึกษา
สำหรับในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 นั้น มีการสอบ 5 กลุ่มสาระการเรียนหลักได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาฯและภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ระหว่างปีการศึกษา 2548 ถึง 2549 และมีการสอบครบทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ในปีการศึกษา 2550 เป็นต้นมา ผลคะแนนสอบปรากฏว่า แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีร้อยละคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับที่น่าพอใช้ ซึ่งจะต้องพัฒนาต่อไป มีกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขและพลศึกษามีคะแนนเฉลี่ยร้อยละที่สูงที่สุดในแต่ละปีการศึกษาและเกินร้อยละ 50 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ มีคะแนนอยู่ในระดับที่พอใช้ คือ สูงบ้างต่ำบ้างในแต่ละปีการศึกษา
โดยภาพรวมผลคะแนนเฉลี่ยทั้งหมดแล้วจะเห็นได้ว่าคะแนนเฉลี่ยของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับจังหวัด ระดับสังกัด และระดับประเทศมาเป็นระยะเวลา 2 ปี และสูงกว่าในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
5. ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาในปีต่อไป
5.1 ปัญหาและอุปสรรค ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สามารถอภิปรายได้ 2 ช่วง คือ ในช่วงปีการศึกษา 2548 – 2549 และช่วงปีการศึกษา 2550 – 2552 กล่าว คือ ในระหว่างปีการศึกษา 2548 - 2549 พบปัญหาเกี่ยวกับการมาเรียนที่ไม่สม่ำเสมอของนักเรียนอันมีสาเหตุมาจากสภาพเศรษฐกิจทางครอบครัว ซึ่งร้อยละ 90 ของผู้ปกครองนักเรียนมีฐานะค่อนข้างยากจน มีปัญหาเรื่อง ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาโรงเรียนและค่าอาหารกลางวัน ผู้ปกครองนักเรียนบางส่วน ไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการศึกษาจึงมุ่งใช้แรงงานจากนักเรียนในการทำมาหากิน อาชีพของผู้ปกครองร้อยละ 90 เป็นเกษตรกร ในส่วนของโรงเรียนประสบกับปัญหาจำนวนครูที่มีไม่เพียงพอ และมีครูที่ไม่ตรงตามวิชาเอกซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของการสอนในระดับมัธยมศึกษา สื่อและอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่เพียงพอ นักเรียนส่วนมากไม่มีหนังสือประกอบการเรียน สื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศยังมีน้อย ทำให้กระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นเฉพาะในห้องเรียน เป็นส่วนใหญ่ รวมถึงงบประมาณที่เขตพื้นที่การศึกษา จัดสรรมาตามจำนวนค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียน ซึ่งขณะนั้นมีนักเรียน 216 คน ไม่เพียงพอ ทำให้ขาดแคลนปัจจัยต่าง ๆ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจัดได้เฉพาะในเวลาเรียนเท่านั้น เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่นั้นอยู่บ้านไกลทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการเดินทาง ในความมืดก็มีแสงสว่างอยู่ เช่นกัน นักเรียนมีความรัก ความเอาใจใส่ต่อการเรียน มีความซื่อสัตย์ เสียสละ ซึ่งมีตัวบ่งชี้จากโล่รางวัลในระดับต่างๆ ที่นักเรียนและโรงเรียนได้รับ ประการที่สำคัญที่สุดอีกอย่างก็ คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนเอาใจใส่และทุมเทต่อการจัดการเรียนการสอนมาโดยตลอด ในช่วงปลายปีการศึกษา 2549 นั้น มีกระแสเรื่อง การถ่ายโอนสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นทำให้ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียนทุกคน และบุคคลที่เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ ได้ปรึกษาหารือและลงมติให้มีการถ่ายโอนสถานศึกษาไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน) อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนนาทรายวิทยาคม ในการถ่ายโอนครั้งนี้มีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ไม่ถ่ายโอนไปพร้อมกับโรงเรียนจึงขอย้ายไปโรงเรียนที่อยู่ใกล้บ้านของตนเอง ทำให้โรงเรียนขาดอัตรากำลัง ต่อมากรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้จัดสรรตำแหน่งครูผู้ช่วยแทนตำแหน่งเดิมเพิ่มเป็น 18 อัตรา ปัญหาจากการถ่ายโอน แม้จะมีครูครบตามเกณฑ์และวิชาเอกแล้ว แต่ปัญหาใหม่ที่พบคือ ครูร้อยละ 95 เป็นครูที่บรรจุใหม่ ประสบการณ์มีน้อย ทั้งประสบการณ์ทางการสอน เทคนิคการสอน การปฏิบัติงานต่าง ๆ จึงทำให้ต้องมีการลองผิดลองถูกบ่อยครั้ง และในการถ่ายโอนนั้นครูและบุคลาการทางการศึกษาทุกคนร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน มีการเรียนรู้ร่วมกันในการจัดการศึกษา ทำให้เกิดปัญหาการจัดการศึกษาบางอย่างในเบื้องต้น เช่น ปัญหาด้านการติดต่อสื่อสาร เนื่องจากโรงเรียนมีระยะทางห่างจากต้นสังกัด 130 กิโลเมตร ปัญหาด้านคววามรู้ ความสามารถด้านการเบิกจ่าย ปัญหาด้านการบริการวิชาการ เป็นต้น ซึ่งต้องเรียนรู้และช่วยกันแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
ปัจจุบันโรงเรียนได้ปรับตัวภายใต้สังกัดใหม่ โดยใช้ระยะเวลา 3 ปี ทำให้เกิดความเข้าใจและการปฏิบัติงานคล่องตัวมากขึ้น มีจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีการศึกษาอย่างเห็นได้ชัดเจน ครูและบุคลากรทางการศึกษาเพิ่มขึ้นและสอนตรงตามวิชาเอก ครูที่มีประสบการณ์น้อยได้ผ่านการสอนงานอย่างเป็นระบบ มีความมุมานะ มุ่งมั่น ทุ่มเท และเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัดมากขึ้นทำให้เพียงพอในการพัฒนาการจัดการศึกษา มีบริการสวัสดิการแก่นักเรียนต่าง ๆ เช่น โครงการเรียนฟรี 15 ปีและท้องถิ่นจัดสวัสดิการอาหารกลางวัน บริการรถรับส่งนักเรียน ชุดพละศึกษาและ หนังสือยืมเรียน มีสื่ออุปกรณ์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนเพิ่มมากขึ้น เช่น ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ในส่วนของนักเรียนนั้นได้มีโอกาสในการเรียนรู้ทั้งสื่อที่มีอยู่ในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาเพิ่มมากขึ้นรวมถึงนักเรียนได้มีโอกาสแสดงความรู้ความสามารถในด้านทักษะวิชาการ ดนตรี นาฎศิลป์ ศิลปะและการกีฬา เพิ่มมากขึ้นในระดับการแข่งขันของระดับต่างๆ ทั้งในหน่วยงานต้นสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ปกครองนักเรียนทุก ๆ คน ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลและการจัดการศึกษา ของโรงเรียนนาทรายวิทยาคม โดยสังเกตได้จาก การเข้าร่วมประชุมผู้ปกครองของนักเรียน การทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชน การประชาสัมพันธ์ การร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาผู้เรียน เป็นต้น
5.2 แนวทางในการพัฒนาในปีต่อไป ในการพัฒนานักเรียนทั้ง 6 ด้าน คือ 1. ด้านความรู้ ความคิด ในสมอง 2. ด้านคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ สุนทรียะ ต่าง ๆ 3. ด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต 4. ด้านทักษะของกล้ามเนื้อ เช่น กีฬา 5. ด้านทักษะทางสังคม การอยู่ร่วมกับผู้อื่น 6. ด้านทักษะทางภาษาและคณิตศาสตร์ ในปีต่อไปโรงเรียนได้ดำเนินกิจกรรมและโครงการเช่นเดียวกันกับปีการศึกษา 2552 และได้กำหนดแนวทางที่มีความชัดเจน และเข้มข้นมากยิ่งขึ้นทั้งการวิเคราะห์ผู้เรียนและแก้ไข เป็นรายบุคคล ในทุกตัวชี้วัด เพิ่มทักษะและศักยภาพของครูในด้านการวัดผลและประเมินผล ตามแนวทางของ สทศ.
6. บทสรุป
ในด้านการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ของโรงเรียนนาทรายวิทยาคม ถือว่าประสบผลสำเร็จในระดับที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก ซึ่งสอดคล้องกับสโลแกน ของสถานศึกษาที่ว่า “โรงเรียนท้องถิ่น โดยคนท้องถิ่น เพื่อคนท้องถิ่น” และปรัชญาของโรงเรียน คือ “ผู้ใฝ่รู้ ย่อมเป็นผู้เลิศ” ซึ่งผลสำเร็จดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นจากการยึดหลักการที่สำคัญ 5 ประการ ประการที่ 1 การพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง การนำข้อมูล มาจัดกระทำ วิเคราะห์ เป็นสารสนเทศ นำมาพัฒนาและตัดสินใจ โดยมีการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ให้ดีขึ้นกว่าเดิม อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่องประการที่ 2 การเอาใจใส่อย่างจริงจังของครูและบุคลากรทางการศึกษา ความมุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละ และเอาใจใส่อย่างจริงจังต่องานที่ได้รับมอบหมายของครูใหม่ ไฟแรง ประการที่ 3 งบประมาณการสนับสนุนที่เพียงพอ ทั้งด้านอาคารสถานที่ และปัจจัยด้าน อี่น ๆ ทำให้โรงเรียนที่ห่างไกลชายขอบจังหวัดลำพูน กลับมามีนักเรียนเพิ่มขึ้นตามลำดับเหมือนเช่นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงของจังหวัด ในขณะที่โรงเรียนมัธยมอื่น ๆ มีจำนวนนักเรียนลดลง ประการที่ 4 หลักของการมีส่วนร่วม โดยการระดม ประสาน สัมพันธ์ ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ หน่วยงานต้นสังกัด คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ชมรมผู้ปกครองนักเรียน ชมรมผู้ขับรถรับส่งนักเรียน ชมรมศิษย์เก่า รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมพัฒนา ประเมิน และร่วมชื่นชมยินดี ประการที่ 5 สุดท้าย คือ การรายงานผลอย่างเป็นระบบและประชาสัมพันธ์ การประเมินผลระหว่างการดำเนินงาน สรุปผลเมื่อสิ้นสุดการทำงาน และรายงานผลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
การพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอน โดยการนำคะแนน O-NET มาใช้ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งประการหนึ่ง เนื่องจากเป็นการลดความลำเอียงที่ผู้สอน ดำเนินการสอนเอง วัดเอง ประเมินเอง ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่จะใช้เครื่องมือที่มีความไม่เที่ยงตรงทั้งเชิงโครงสร้างและเนื้อหา และอาจไม่มีความเชื่อมั่น ดังนั้นจึงควรนำคะแนน O-NET มาประกอบการพิจารณา วางแผน และปรับปรุงแก้ไข อย่างต่อเนื่อง แม้ว่า ตัวแปรที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็ คือ ตัวนักเรียนที่เปลี่ยนไปทุกปี และในขณะเดียวกัน สทศ. ก็มีการพัฒนาเครื่องมือไปพร้อมกัน ซึ่งสอดคล้องกับหลักของการพัฒนาและหลักของธรรมชาติ คือ การเปลี่ยนแปลงคือการพัฒนา การไม่อยู่นิ่งคือการมีชีวิตนั่นเอง
บรรณานุกรม
กรมวิชาการ. 2546. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2544 และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพอักษรไทย (น.ส.พ. ฟ้าเมืองไทย).
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. 2551. แนวทางการนำมาตรฐานการศึกษา
ขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร
แห่งประเทศไทยจำกัด.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. 2549. มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. 2548. มาตรฐานการศึกษาของชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสหายบล็อก และการพิมพ์.
สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ. 2550. คู่มือสำหรับผู้บริหารในการนำผลการสอบ O-NET
ไปวางแผนปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาครู-นักเรียน. กรุงเทพฯ:
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
รัตนะ บัวสนธ์ นางจุฑามาส ศรีจำนง และว่าที่ร้อยตรี สิริศักดิ์ อาจวิชัย. ม.ป.ป. การวิเคราะห์
มาตรฐานการศึกษาของเทศไทย. พิษณุโลก: อัดสำเนา.
เว็ปไซต์
http://www.lamphun.go.th/intro.php?topicid=5
http://www.niets.or.th/
วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ดูงานประเทศจีน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษา ดูงาน ด้านวัฒนธรรม ความเป็นอยู่
ระยะเวลา: 5 วัน (3 - 7 กรกฎาคม 2553)
เมือง: เซี่ยงไฮ้, ซูโจว, หังโจว.
คณะ: องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน, บริหาร สจ ข้าราชการ หัวหน้าฝ่าย ผู้ทรงคุณวุฒิ ขนส่งจังหวัด สรรพสามิตจังหวัด รวม 82 คน
บทสรุป: ความเจริญที่เห็นได้ชัดเจน คือ สิ่งก่อสร้าง สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี สภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ อยู่ในเขตที่เหมาะสม ทั้งการอยู่อาศัย การเกษตร จุดที่ยังไม่เปลี่ยนไป คือ เอกลักษณ์ของคนจีน จะเสียงดัง การพูดจาเหมือนถกเถียงกัน อาหารการกิน
เทคนิคการขายของมีหลายรูปแบบ การแข่งขัน ชิงความได้เปรียบ เพื่อความอยู่รอดของตนเอง
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง :
1. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99
2. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B9%89
3. บริษัท สนุกสบาย แทรเวล จำกัด
4.
ระยะเวลา: 5 วัน (3 - 7 กรกฎาคม 2553)
เมือง: เซี่ยงไฮ้, ซูโจว, หังโจว.
คณะ: องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน, บริหาร สจ ข้าราชการ หัวหน้าฝ่าย ผู้ทรงคุณวุฒิ ขนส่งจังหวัด สรรพสามิตจังหวัด รวม 82 คน
บทสรุป: ความเจริญที่เห็นได้ชัดเจน คือ สิ่งก่อสร้าง สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี สภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ อยู่ในเขตที่เหมาะสม ทั้งการอยู่อาศัย การเกษตร จุดที่ยังไม่เปลี่ยนไป คือ เอกลักษณ์ของคนจีน จะเสียงดัง การพูดจาเหมือนถกเถียงกัน อาหารการกิน
เทคนิคการขายของมีหลายรูปแบบ การแข่งขัน ชิงความได้เปรียบ เพื่อความอยู่รอดของตนเอง
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง :
1. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99
2. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B9%89
3. บริษัท สนุกสบาย แทรเวล จำกัด
4.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)